Wednesday, July 9, 2014

ค่าเล่าเรียน ป.เอก รัฐศาสตร์ มธ.


ระหว่างนั่งจัดการอีเมลของตัวเอง s3930201@hotmail.com ที่มีจดหมายอิเล็กทรอนิกส์อยู่จำนวนมาก
ก็เผอิญเจอไฟล์ข้อมูลรวมเรื่องค่าใช้จ่ายในระดับปริญญาเอก คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ของตัวเอง ตลอดระยะเวลา 4 ปีที่ได้มาศึกษาที่นี่ ถือได้ว่าค่าใช้จ่ายซึ่งเป็นค่าธรรมเนียมการศึกษา ได้แก่ ค่าหน่วยกิต (หน่วยกิตละ 1,500.-) ค่าบำรุงห้องสมุด (1,500.-) ค่ารักษาสถานภาพ (3,000.-) และอื่นๆ รวมๆ กันแล้วก็ถือว่าถูกมากๆ เมื่อเปรียบเทียบกับหลักสูตรในระดับปริญญาเอกของมหาวิทยาลัยอื่นๆ หรือแม้กระทั่งหลักสูตรอื่นของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ด้วยกันอย่างหลักสูตรสหวิทยาการ เป็นต้น

เชื่อไหมครับในระยะเวลา 4 ปีที่ผมเรียนผ่านมา ค่าใช้จ่ายทั้งหมด 124,000.- เมื่อดูในตารางข้างบน หลายคนอาจนึกสงสัยว่าตัวเลขค่าใช้จ่ายเฉพาะของเทอม 2/2556 เป็นค่าอะไร? ซึ่งมากถึง 57,300.- คำตอบก็คือค่าลงทะเบียนดุษฎีนิพนธ์ 36 หน่วยกิตและอื่นๆ ครับ (ดูรายละเอียดตามภาพข้างล่างนี้)



ส่วนค่าใช้จ่ายส่วนตัว ค่าหนังสือ ถ่ายเอกสารก็เป็นอีกส่วนหนึ่งต่างหากไม่ได้รวมอยู่ในนี้ ผมเองได้รับทุนพัฒนาอาจารย์จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์จึงไม่ต้องเป็นภาระเรื่องค่าใช้จ่ายเอง ดูรายละเอียดที่นี่
https://www.dropbox.com/s/kaxpempphycggs3/%E0%B9%80%E0%B8%89%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%B0_2%E0%B9%84%E0%B8%9E%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%A5_%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B8%99%20%E0%B8%9B.%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%81.pdf

ส่วนเรื่องการเรียน ตัวผมนั้นเขาศึกษาปริญญาเอกเมื่อปีการศึกษา 2553 หลักสูตรรัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิตที่ผมเข้าเรียนเป็นหลักสูตรของปี 2544 ดูรายละเอียด ที่นี่ หรือที่นี่ ต่อมาภายหลังได้มีการปรับหลักสูตรไปรอบหนึ่งแล้ว ขณะนี้ปิดปรับปรุงหลักสูตรอีก และหยุดรับนักศึกษาใหม่ไป 1 ปี ดูรายละเอียดที่นี่
http://www.polsci.tu.ac.th/nw_polsci/index.php?option=com_content&view=article&id=31&Itemid=126

เดิมทีนั้นหลักสูตรรัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิตของคณะรัฐศาสตร์ มธ. เป็นหลักสูตร 5 ปี ต่อมามีการขยายเพิ่มเป็น 6 ปี ไม่รู้ว่าเป็นเรื่องดีหรือเรื่องร้ายที่ได้เวลาเพิ่มมาอีก 1 ปี ตัวผมนั้นขณะนี้อยู่ปี 5 ยังเหลือเวลาอีก 1 ปีเศษๆ ในการเรียนที่นี่ อะไรๆ ก็ไม่แน่ไม่นอน หลายอย่างเราวางแผนและจัดการได้ แต่หลายอย่างก็เป็นเรื่องของโชคชะตา เฉกเช่นเดียวกันกับการขับรถ ต่อให้ขับรถระมัดระวังและเรียนขับรถมาดียังไง แต่เราก็คุมสถานการณ์ได้แค่ 50% เท่านั้น ส่วนอีก 50% ที่เหลือเป็นเรื่องของโชคชะตา เพราะไม่รู้ว่ารถคันอื่นจะพุ่งมาชนเราเมื่อไหร่ หรือรถพ่วงเหวี่ยงใส่เอาตอนไหน



หลักสูตรปริญญาเอกของที่นี้ เปิดรับนักศึกษาในแต่ละปี 10 คน แต่ละปีมีผู้มาสมัครสอบจริงๆ ไม่ถึง และที่ผ่านการสอบ (เขาสอบสัมภาษณ์เท่านั้น โดยดูจากเอกสารต่างๆ รวมทั้งข้อเสนองานวิจัยที่ส่งมาให้พิจารณา) มีไม่มาก รุ่นหนึ่งๆ ที่ผ่านเข้ามาก็ประมาณ 2-3 คน เรียนไปเรียนมา ก็ค่อยๆ ทยอยออกกันไป ไปเองบ้าง เรียนไม่ได้บ้าง เรียนไม่ถึงเกณฑ์ที่เขากำหนดบ้าง อย่างรุ่นของผมตอนนี้มี 3 คน

ใครบางคนเคยพูดเปรียบเปรยการเรียนที่นี่เอาไว้ว่า เหมือนกับการบวชพระเข้ามา ต้องสละอะไรมากมายหลายอย่าง บางคนบอกว่า "เรียนที่นี่คุณต้องเจ็บปวด ไม่งั้นไม่ได้อะไร" บ้างก็เปรียบเหมือนกับการวิ่งมาราธอน ไม่ใช่วิ่ง 4 x 100 ต้องอาศัยความอึดและทน หลายคนที่จบปริญญาโทมาจากเมืองนอก ภาษาอังกฤษดี มาเรียนต่อ ป.เอก ที่นี่ แต่ไม่อึดไม่ทน ก็ไม่รอด ล้มหายตายจากกันไป

ใครอยู่ได้ก็อยู่ อยู่ไม่ได้ก็ไป

"...ประตูทองแดง สร้างเชื่อมกำแพงหิน สูงเกินกว่านกจะบินข้ามไปที่ใจมุ่งหมาย  พยายาม สำเร็จจะตามมา ทำมันให้ดีสมค่า เวลามาถึงแล้ว...มิใช่จะมาเพื่อแพ้"


ป.ล.
ตารางชีวิต ป.เอก ของข้าพเจ้า

  • ปี 2553
    • 5 เมษายน 2553 ลาจาก ม.อ. เพื่อศึกษาต่อ ป.เอก คณะรัฐศาสตร์ มธ. ท่าพระจันทร์
    • ลิงก์ที่เกี่ยวข้อง
    • เรียนเตรียมความพร้อมช่วงซัมเมอร์ (เทอม 3/2552) กับ...
      1. ดร.จุลชีพ ชินวรรโณ
      2. ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์
    • เข้าปี 1 ป.เอก
    • เทอม 1/2553 (14 มิถุนายน - 3 ตุลาคม 2553) ลงทะเบียนเรียน 3 วิชา
      1. ร.810 สัมมนาสาขาวิชาการเมืองเปรียบเทียบ (เกษียร เตชะพีระ)
      2. ร.820 สัมมนาสาขาวิชาการบริหารรัฐกิจและกิจการสาธารณะ (อัมพร ธำรงลักษณ์)
      3. ร.813 สัมมนาการเมืองการปกครองไทย (เสกสรรค์ ประเสริฐกุล)
    • เทอม 2/2553 (8 พฤศจิกายน 2553 - 27 กุมภาพันธ์ 2554) ลงทะเบียนเรียน 3 วิชา
      1. ร.800 สัมมนาสาขาวิชาทฤษฎีและวิธีการหาความรู้ (ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร)
      2. ร.830 สัมมนาสาขาวิชาการระหว่างประเทศ (ประภัสสร์ เทพชาตรี)
      3. ร.831 สัมมนาการวิเคราะห์นโยบายต่างประเทศ (สุรชัย ศิริไกร)
  • ปี 2554
    • ขึ้นปี 2 ป.เอก
    • (ต่อ) เทอม 2/2553 (8 พฤศจิกายน 2553 - 27 กุมภาพันธ์ 2554) ลงทะเบียนเรียน 3 วิชา
  • ปี 2555
    • ขึ้นปี 3 ป.เอก
    • 21, 28 กุมภาพันธ์  และ 6, 13 มีนาคม 2555 สี่สัปดาห์ของการสอบข้อเขียน Comprehensive (ปีการศึกษา 2554)
    • 28 มิถุนายน 2555 รู้ผลสอบข้อเขียน Comprehensive สอบผ่าน 3 สาขาวิชาในครั้งเดียว จาก 4 สาขาวิชาที่สอบ ได้แก่
      1. สาขาวิชาทฤษฎีและวิธีการหาความรู้ (ผ่าน)
      2. สาขาวิชาการระหว่างประเทศ (ผ่าน)
      3. สาขาวิชาการเมืองเปรียบเทียบ (ไม่ผ่าน)
      4. สาขาวิชาการบริหารรัฐกิจและกิจการสาธารณะ (ผ่าน)
    • 6 สิงหาคม 2555 รู้ผลสอบปากเปล่า 
    • 9 สิงหาคม 2555 ลงทะเบียน IS หรือ PO 829 Individual Research and Reading in Public Administration (ร.829 การศึกษาเฉพาะเรื่องและเฉพาะตัวในสาขาวิชาการบริหารรัฐกิจและกิจการสาธารณะ)
  • ปี 2556
    • ขึ้นปี 4 ป.เอก
    • 14 พฤศจิกายน 2556 สอบข้อเสนอดุษฎีนิพนธ์
    • 27-28 พฤศจิกายน 2556 นำเสนอบทความ บทวิเคราะห์ประชาธิปไตยในอันตรายฯ งานรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์แห่งชาติ ครั้งที่ 14 ณ ม.อุบลราชธานี
  • ปี 2557
    • ขึ้นปี 5 ป.เอก
    • 23 พฤษภาคม 2557 นำเสนอบทความ การนำนโยบายหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานไปปฏิบัติฯ งานการประชุมวิชาการบัณฑิตศึกษาระดับชาติ ครั้งที่ 4 ณ โรงแรมริชมอนด์ จังหวัดนนทบุรี
    • มิถุนายน - กรกฎาคม 2557 ลงพื้นที่สัมภาษณ์เก็บข้อมูลงานวิจัย ป.เอก
    • 7 ตุลาคม 2557 รายงานตัวกลับเข้าทำงานคณะต้นสังกัด คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี
    • 23 ธันวาคม 2557 ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง หัวหน้าสาขาวิชารัฐประศานศาสตร์ รับผิดชอบนักศึกษา 4 ชั้นปี 450 คน อาจารย์ในหลักสูตรทั้งหมด 5 คน (รวมตัวเองด้วย)
    • ภาระงานหลัก ปรับปรุงหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการรัฐกิจและวิสาหกิจ พ.ศ. 2553 ซึ่งใช้มาครบ 5 ปี เป็น "หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการรัฐกิจ พ.ศ. 2559 หลักสูตรปรับปรุงใหม่"
  • ปี 2558
    • ขึ้นปี 6 ป.เอก
    • 12 มกรามคม 2558 เปิดเทอม 2/2557 วันแรก รับผิดชอบสอน 3 วิชา 5 Section คิดเป็น 200 ชั่วโมง/ภาคการศึกษา หรือ 13 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ (ดูตารางสอนด้านล่าง)

    • 22 พฤษภาคม 2558 ส่งเกรดเทอม 2/2557
    • 22 - 26 มิถุนายน 2558 ออกนิเทศนักศึกษาฝึกงาน ในส่วนของตนเองนั้น รับผิดชอบนักศึกษาจำนวน 26 คน (14 หน่วยงานทั่วจังหวัดสุราษฎร์ธานี) ดูรายละเอียดที่นี่
    • พฤหัสบดีที่ 25 มิถุนายน 2558 Facebook ของอาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่านหนึ่ง...
  • เป็นครูบาอาจารย์อย่าสักแต่โพสต์เอาหรอย

No comments:

Post a Comment