Monday, September 29, 2014

คาถาของคนที่คิดใหญ่

คาถาของคนที่คิดใหญ่

1) อย่ามีปมด้อย อย่าดูถูกตัวเอง ทุกอย่างเป็นไปได้ พยายามสลายข้อจำกัดของตัวเองอยู่เสมอ
2) ใช้คำของคนที่คิดใหญ่ หมั่นมองโลกตามความเป็นจริงและคิดในแง่บวกอยู่เสมอๆ
3) มองอนาคตให้ไกลขึ้น พูดง่ายๆ ว่า มองกว้าง คิดไกล และใฝ่สูง
4) มองงานของคุณให้ใหญ่ขึ้น แล้วลงมือทำในเรื่องเล็กๆ มุ่งสู่เป้าหมายหลักที่แน่ชัด
5) อย่าคิดเรื่องจุกจิก แต่ให้คิดอย่างละเอียดถี่ถ้วน รอบคอบ และวางแผนงานอยู่เสมอทั้งระยะสั้นและระยะยาว
6) เติบโตโดยการคิดใหญ่ 
 
 
 
 
 

Monday, September 8, 2014

แก่นแท้ทุนนิยม

ในบรรดาคำจำกัดความของคำว่า 'ทุนนิยม' นั้น ผมชอบคำจำกัดความของ Joseph Schumpeter (ค.ศ. 1883-1950) มากที่สุด เขาให้คำจำกัดความทุนนิยมว่าอย่างไรนะหรือครับ? เขาว่าไว้อย่างนี้ครับ...

 

ทุนนิยมโดยธรรมชาติธาตุแท้ของมัน คือ รูปแบบหรือวิธีการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ มันไม่เคยหยุดและไม่มีทางหยุดอยู่กับที่...แรงขับดันพื้นฐานที่หมุนจักรกลของทุนนิยมให้ทำงานและผลักดันให้หมุนต่อไปอย่างไม่หยุดหย่อนมาจากสินค้าสำหรับลูกค้ารายใหม่ๆ วิธีการผลิตหรือระบบการขนส่งคมนาคมระบบใหม่ๆ ตลาดใหม่ๆ และรูปแบบการจัดองค์การอุตสาหกรรมแบบใหม่ๆ ที่วิสาหกิจทุนนิยมสร้างมันขึ้นมา การเปิดตลาดใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็นในต่างประเทศหรือตลาดภายใน และการพัฒนาการจัดองค์การจากร้านหัตถศิลป์ไปสู่โรงงานการผลิต...
สะท้อนถึง (ถ้าจะยืมคำของชีววิทยามาใช้ ก็คือ)
กระบวนการกลายพันธุ์ในแบบเดียวกันในทางอุตสาหกรรม ที่ก่อให้เกิดการปฏิวัติโครงสร้างทางเศรษฐกิจ จากภายในอย่างไม่หยุดหย่อน ทำลายโครงสร้างเก่าอย่างไม่หยุดยั้ง สร้างของใหม่ขึ้นทดแทนอย่างไม่หยุดนิ่ง กระบวนการทำลายเพื่อสร้างสรรค์นี้ (Creative destruction) นี่เอง คือ แก่นแท้ของทุนนิยม

Thursday, September 4, 2014

อ่อนแอเกินกว่าจะรับมอบเสรีภาพ

 หน้า 388-389

...และถึงแม้ว่ามนุษย์จะได้เสรีภาพมา พวกเขาก็จะนำมันส่งกลับมาวางคืนแทบเท้าผู้ทรงอำนาจ ผู้ให้ขนมปังและความสงบทางจิตใจแก่พวกเขาได้ มนุษย์นั้นอ่อนแอเกินกว่าจะรับมอบเสรีภาพเป็นของขวัญ สิ่งที่มนุษย์ต้องการไม่ใช่เสรีภาพ แต่คืออาหารเลี้ยงปากเลี้ยงท้อง ใครผู้ใดก็ตามที่ทำให้พวกเขามีกินมีใช้ได้ เขาก็จะบูชาคนคนนั้นราวกับเป็นผู้มาโปรด...




Wednesday, September 3, 2014

การเป็นพลเมืองแบบเบิร์ก

 แนะนำหนังสือน่าอ่าน ที่นี่

การเป็นพลเมืองแบบเบิร์ก (Edmund Burke) ก็คือการอนุญาตให้คนเป็นพลเมืองที่หลากหลายระดับพร้อมๆ กันได้ถือเป็นเรื่องดี ซึ่งถือเป็นพหุนิยมของการเป็นพลเมือง ส่วนการบังคับให้บุคคลมีแต่ความจงรักภักดีหรือมีหน้าที่ต่อรัฐเท่านั้น ย่อมไม่เพียงพอและไม่เป็นผลดีแต่ประการใด  ด้วยเหตุที่ว่ามันจะนำไปสู่รัฐที่ทรงอำนาจล้นพ้น