Friday, May 30, 2014

ยุทธศาสตร์แย่งชิงฐานมวลชน

น่าสนใจอย่างยิ่ง สำหรับภารกิจเร่งด่วนที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) สั่งการ "จัดให้เป็นพิเศษ" ให้ชำระเงินค่าจำนำข้าวที่ตกค้างในวงเงิน 9.2 หมื่นล้านบาท (โดยเริ่มจ่ายได้ตั้งแต่วันที่ 26 พฤษภาคมและจะจ่ายให้ครบได้ไม่เกิน 1 เดือน) ทั้งนี้ โดยให้นำใบประทวนไปติดต่อรับเงินที่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ได้ทันที โดยทหารพร้อมอำนวยความสะดวกให้เต็มที่

แน่นอนว่า "หว่านพืช ย่อมหวังผล" ยุทธศาสตร์ดังกล่าวได้นำมาสู่ "ปรากฏการณ์ชาวนารักทหาร" เมื่อชาวนาในหลายพื้นที่ออกมาเพื่อขอบคุณ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) โดยที่ "สลิ่ม" จำนวนมากส่งเสียงเชียร์พร้อมกับการเปรียบเทียบในเชิงเย้ยหยันรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งของยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

ขณะที่สื่อของกองทัพและภาครัฐร่วมเสนอการเคลื่อนไหว "ปรากฏการณ์ชาวนารักทหาร" กันอย่างคึกคัก

อันที่จริงหากมองด้วยสายตาแบบ "โลกไม่สวย" มองให้เห็น "เกมแห่งอำนาจ/เกมการเมือง" ก็จะรู้ได้ว่า

นี่เป็นยุทธศาสตร์แย่งชิงฐานมวลชนและเป็นการใช้ soft propaganda ประเภทหนึ่ง

กล่าวคือ นี่เป็นการดึงเอามวลชนระดับรากหญ้าเข้ามาเป็นฐานสำคัญให้กับกองทัพและการสร้างภาพลักษณ์ของกองทัพให้ดูดีในสายตาของสังคม เป็นการซื้อใจและความภักดีชนิดที่ชาวนาพากันยกมือท่วมหัวไหว้ขอบคุณ คสช. ที่ทำให้ได้เงินทุนทันปลูกข้าวรอบใหม่ (ดูรายละเอียดตามภาพที่แนบมา)

ชัดเจนว่า ยุทธศาสตร์ชิงกระแสที่ทหารได้แน่นอนก็คือ การดึงฐานมวลชนรากหญ้าไม่ให้เคลื่อนไหว ขณะเดียวกันก็หันกลับมาเป็นพวกเป็นฐานมวลชนเพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับกองทัพนั่นเอง





ที่มาของภาพ:
มติชน. (พฤหัสบดีที่ 29 พฤษภาคม 2557). คสช.กดปุ่มคืนหนี้ข้าว ชาวนาเฮ-เงินหล่นใส่, น. 1, 6.

Saturday, May 17, 2014

ข้อสังเกต ว่าด้วยความจริงที่ถูกสร้าง

ข้อความใน Facebook ที่ผมโพสต์นี้เป็นเนื้อหาที่ผมแสดงความเห็น
ใน Facebook ของเพื่อนอาจารย์ในมหาวิทยาลัยเดียวกันท่านหนึ่ง

ประเด็นหนึ่งที่ผมต้องการจะบอกก็คือ สภาพทางสังคมของภาคใต้มี
อัตลักษณ์บางอย่างที่ถือเป็น 'ความจริงที่ถูกสร้างขึ้นทางสังคม'
(social construction of realities) ให้มีอุดมการณ์ทางการเมือง ความคิด
ความเชื่อชุดหนึ่งที่ต่างไปจากภาคอื่นๆ อย่างภาคเหนือและอีสาน

ผมยกตัวอย่าง 'ความจริงที่ถูกสร้างขึ้นทางสังคม'
โดยเปรียบเทียบกับ 'งานแต่งงาน' เพราะงานแต่งงานเป็น 'สิ่งสร้าง' ทางสังคมแบบหนึ่ง
ที่กำหนดว่า ผู้ไปร่วมงานแต่งควรจะต้องแต่งชุดที่ไม่ใช่ชุดดำ

เฉกเช่นเดียวกัน เมื่อนำมาอธิบายความจริงทางการเมืองของคนใต้ ณ ปัจจุบัน
ก็จะเห็นว่า การที่รถยนต์ในภาคใต้ส่วนใหญ่ไม่ติดธงแดง
แต่ติดธงชาติตามตัวรถ ก็ถือเป็น 'สิ่งสร้าง'
หรือ 'ความจริงที่ถูกสร้างขึ้นทางสังคม' แบบหนึ่ง ไม่ต่างอะไรกับงานแต่งงานอย่างที่
ผมได้กล่าวไว้

หากไปภาคอื่นๆ อย่างภาคเหนือและอีสาน รถยนต์ส่วนใหญ่ก็คงไม่ติดธงชาติตามตัวรถกัน
แต่อาจจะใช้ธงแดงหรืออื่นๆ

เมื่อความจริงทางสังคมของคนแต่ภาคเป็นเช่นนี้

จะทำไงละครับ ขืนใส่ชุดดำไปงานแต่งงาน
ก็คงจะ 'ได้เรือง'

โบราณว่า 'เข้าเมืองตาหลิ่ว ต้องหลิ่วตาตาม' (When in Rome, Do as the Romans DO)
สำนวนนี้ หมายถึง การปรับตัวของตัวเองให้เข้ากับผู้คนในสังคมหมู่มากนั่นเอง ที่แห่งใดเขาประพฤติอย่างไร ก็ทำตามให้เข้ากับผู้คนในสังคมเหล่านั้นที่เขาประพฤติปฏิบัติกัน อย่าไปประพฤติขัดแย้งกับเขา

แม้ว่าในความเป็นจริง เราจะยึดหลักการอะไรบางอย่างอยู่ในใจที่ไม่เหมือนกับวิถีปฏิบัติของสังคมแห่งนั้น ก็ไม่ควรที่จะฝืน

เพราะ 'ถึงแม้เราจะถูก แต่ก็ยังผิดอยู่ดี'



Friday, May 16, 2014

ปัญหาการศึกษาไทย: เรื่องเล่าจากครูคนหนึ่ง

เรียนคุณสนธิ ลิ้มทองกุลและผู้ดำเนินรายการทุกท่าน ดิฉันเป็นครูจากจังหวัดฉะเชิงเทรา ลาออกตั้งแต่ 30 กันยายน 2555 อายุ 58 ปี เป็นครูตั้งแต่อายุ 18 เป็นด้วยความรัก ศรัทธาในอาชีพครู ประสบการณ์อาชีพในอาชีพ 40 ปี ไม่เคยตั้งใจจะลาออก คิดจะอยู่ในอาชีพจนถึงเกษียณ แต่ต้องลาออก ณ วันที่ตัดสินใจลาออก ทนไม่ไหวแล้ว ไปนั่งชุมนุมกับคุณสนธิดีกว่า ทำไมเด็กไทยจึงไม่เก่ง ทำไมการศึกษาของไทยจึงตกต่ำ เพราะเด็กไม่ได้อะไรจากครู ใน 1 ปี มี 365 วัน เด็กได้เรียนหนังสือกี่วัน
ปัญหาข้อที่ 1 ปิดเทอมภาคฤดูร้อน 16 มีนาฯ ถึง 15 พฤษภาฯ ปิด 2 เดือน 60 วัน ปิดวันเสาร์-อาทิตย์ เดือนละเฉลี่ย 8 วัน 10 เดือน 80 วัน ปิดวันสำคัญของชาติ ศาสนา ประมาณ 15 วัน ปิดกลางภาค ตุลาคม 11-31 ตุลาคม 20 วัน ปิดเนื่องจากมีกิจกรรมวิชาการ กีฬาสี กีฬาองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ประมาณ 15 วัน รวมแล้วปิด 190 วัน 365 วัน ลบ 190 วัน เด็กได้เรียนปีละ 175 วัน ใน 175 วัน ไม่มีครูสอนเด็กต่อเนื่อง ครูต้องไปประชุมสัมมนา อบรม ดูงาน ประมาณปีละ 30 วัน เหลือวันได้เรียน 145 วัน แล้วครูยังลากิจ ครูป่วย ครูมีธุระส่วนตัว ครูทำผลงานให้ตัวเอง เด็กไทยจะได้เรียนหนังสือสักกี่วัน
ปัญหาข้อที่ 2 ผู้ปกครองตามใจครู แตะไม่ได้ ดุ ตี ไม่ได้ เอาใจเด็ก โดยฝึกให้ใช้จ่าย ไม่สนใจเด็ก ให้เด็กรู้จักใช้เวลาว่าง ให้มีนิสัยรักการอ่าน การเรียน การทำงาน ให้เด็กเล่นเกม เพราะคิดว่าเล่นเกมอยู่ในบ้านดีกว่าออกไปเล่นเกมนอกบ้าน
ปัญหาข้อที่ 3 ตัวเด็ก ขาดความรับผิดชอบต่อตนเอง ต่อการเรียน ไม่อยากไปโรงเรียน ติดเพื่อน ตามแบบอย่างเพื่อน ได้สติปัญญามาจากพันธุกรรม อาหาร และสิ่งแวดล้อม ไม่ตั้งใจเรียน ขาดความกระตือรือร้น ไม่ใฝ่รู้ใฝ่เรียน ถ้าเด็กต้องการเรียนกับครูตู้ รับสัญญาณจากโรงเรียนวังไกลกังวล ไม่มีครูควบคุมแนะนำ ดูแล นักเรียนจะไม่ตั้งใจเรียนและไม่ทำงาน เด็กจะนั่งเล่นหมดเวลาไปวันๆ แล้วเด็กไทยจะเก่ง ดี มีความสุขได้อย่างไร
ปัญหาข้อที่ 4 ตัวครู อันนี้น่าสนใจมาก ครูต้องไปอบรม เด็กถูกละทิ้ง ครูให้เด็กเรียนกับครูตู้ ไม่กำกับดูแล นั่งคุยกัน (ประชุมกันในโรงเรียน) ครูจะไปธุระส่วนตัวบ่อย ครูลากิจ ครูลาป่วย ครูมีปัญหาส่วนตัว เช่น ปัญหาครอบครัว ปัญหาหนี้สิน ไม่มีสมาธิที่จะเตรียมการสอนเพื่อเด็ก ครูตั้งหน้าตั้งตาทำแต่วิทยฐานะเพื่อเลื่อนตำแหน่ง เพื่อให้ได้เงินเดือนสูงๆ มีเงินประจำตำแหน่งคนละหลายๆ หมื่น ได้เงินแล้วทำอะไร เด็กไทยเรียนเก่งขึ้นไหม เด็กไทยเป็นเด็กดี มีคุณธรรมขึ้นไหม ครูที่ได้ตำแหน่งแล้วก็สอนเหมือนเดิม ตำแหน่งที่ครูอยากได้ คศ.3 คศ.4 เช่นครู คศ.4 บางคน ได้มาไม่รู้ตัว ได้มาอย่างไร จ้างเขาทำ ลอกเลียนแบบ ในสมัยที่ นักโทษชาย (นช.) ทักษิณ เป็นนายกรัฐมนตรีใหม่ๆ ได้ไปสาธิตการสอนที่โรงเรียนอะไรจำไม่ได้ วันนั้น นช.ทักษิณ พูดว่า ถ้าครูสอนแล้วมีวิจัยการสอน จะได้เลื่อนตำแหน่งเป็นครู คศ.3 และ คศ.4 มีเงินประจำตำแหน่งให้ ตั้งแต่นั้นมา ระบบการเรียนของนักเรียนแย่ลง ผลการเรียนของนักเรียนตกต่ำมาเรื่อย ครูบางคนสอนได้ สอนแก้ปัญหาโดยการทำวิจัยจริง ครูบางคนฉวยโอกาสจ้างทำผลงาน ครูบางคนรับจ้างทำผลงานคัดลอกผลงาน ดัดแปลง คละปนกันไปทั่วประเทศ
ปัญหาข้อที่ 5 ครูไม่พอเพียง แล้วจะสอนให้เด็กพอเพียงได้อย่างไร ครูนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้หลอกๆ เขียนแผนการสอนเพื่อส่งทำผลงาน แต่ความจริงเป็นผู้บริหารก็สอนตามหนังสือที่บริษัททำขาย ตามที่นักวิชาการหลากหลายเขียนขึ้นมา ซึ่งจริงๆ แล้วบางหลักสูตรไม่ได้เหมาะสมกับวัยผู้เรียน ไม่ได้เหมาะสมกับวุฒิภาวะ ความต้องการเรียนรู้ของผู้เรียน ทำให้เด็กไทยอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ ตั้งแต่ระดับประถมศึกษา สะสมความไม่รู้ไปจนถึงระดับมัธยม ครูไม่พอเพียง ปัจจุบันเงินเดือนครูสูงมาก ครูที่อายุ 40 ปีขึ้นไป เงินเดือนจะสูง ครูส่วนมากร่ำรวย มีที่อยู่อาศัย 1 หลังไม่พอ ต้องมี 2 หลัง 3 หลัง เบิกเงินค่าเช่าบ้าน เช่าซื้อ ตลอดอายุราชการ ไม่รู้จักผ่อนหมด เพื่อให้ผู้อื่นเช่าอยู่ ครูกู้เงินไปทำห้องเช่า กู้เงินไปซื้อที่ดินจำนวนมากๆ ครูขับรถราคาหลักล้าน ครูเข้าโรงเรียนสาย กลับก่อน ครูมีธุระมาก ไปส่งภรรยาไปธุระ พาลูกไปเรียน ไปสอน ไปหาหมอ ครูไม่ลงทุน นำเงินงบประมาณของเด็กมาใช้เพื่อตนเอง เช่น ปากกา สมุด กระดาษ ครูเบิกใช้เพื่อทำผลงาน ครูแบบนี้มีอยู่ในประเทศไทยจำนวนมาก
สหกรณ์ออมทรัพย์ของครู มีครูอยู่ 3 ประเภท ประเภทที่ 1 เงินเดือนฝากหมด ใช้เฉพาะเงินประจำตำแหน่ง เดี๋ยวนี้ครูจะฝากเงินสหกรณ์ ครูคนหนึ่งจะฝากโดยเฉลี่ย 3-6 ล้านบาท เพราะสหกรณ์ครูให้ดอกเบี้ยมากกว่าธนาคาร ประเภทที่ 2 พวกชอบกู้ แต่กู้ไปสร้างหลักทรัพย์ ซื้อบ้านคนละ 1 หลัง 2 หลัง 3 หลัง ซื้อที่ดินซื้อรถหรูๆ เวลาไปประชุมใช้อวดกัน ประเภทที่ 3 ครูบรรจุใหม่เงินเดือน 10,000-15,000 จะถูกครูรุ่นพี่เอาเปรียบ เพราะงานมากกว่าครูประเภทที่ 3 กู้เงินสหกรณ์ได้น้อย เงินเดือนน้อยไม่พอต่อค่าครองชีพ ถ้ารักจะเรียนต่อต้องประหยัดอดมื้อกินมื้อ ค่าครองชีพ น้ำมัน อาหารขึ้น ครูประเภท 3 เดือนร้อนมาก ครูประเภท 1 จะแต่งตัวสวยยิ่งกว่าคุณหญิงคุณนาย ใช้ของราคาแพง จะเที่ยวต่างประเทศทุกปีๆ ในช่วงปิดเทอมเดือนเมษายน ทำไมถึงไม่จัดอบรมช่วงปิดเทอม จัดกิจกรรมนักเรียนช่วงปิดเทอม เดี๋ยวนี้กิจกรรมวันเด็ก วันสำคัญทางศาสนา ถ้าตรงเสาร์-อาทิตย์จะจัดวันธรรมดาหมด เดี๋ยวนี้ไม่มีครูที่ไหนอุทิศเวลาให้ทางราชการหรอก มีแต่จะหาโอกาสจัดกิจกรรมในวันธรรมดา หมดเวลารับเงินเดือนรับทุกวัน แต่เวลาทำงานจ้องหาแต่วันหยุด การศึกษาไทยถึงตกต่ำที่สุด
ปัญหาข้อที่ 6 งบประมาณผู้บริหารครู ผู้บริหารและครูรู้กัน หรือผู้บริหารต้องการเงินรายหัวเด็ก เด็กได้ไม่ครบ แต่จะโยกย้ายซิกแซกงาน อาคาร สถานที่จะไม่ถึงเด็ก ผู้บริหารโยกย้ายซิกแซกได้ งานบริหารทั่วไปจะไม่ถึงครู เด็กครูใช้งานบุคลากรจะไม่ถึง เด็กครูใช้ผู้บริหารใช้เที่ยวต่างประเทศ เงินอาหารกลางวัน เช่น โรงเรียนมีนักเรียน 100 คน คนละ 15 บาท ทางโรงเรียนบริหารจริงๆ เด็กได้รับประทานครบอาหารดี แต่มีบางโรงเรียนบริหารแบบครูกินกับเด็ก เงิน 1,500 บาท เด็กได้กิน 1,000 บาท ครูได้กิน 500 บาทต่อวัน ครูกินอะไรก็กินอาหารกลางวัน โดยใช้เงินของเด็ก หรือ 500 บาทนี้ ไปจ้างแม่ครัวมาทำงานแทนครู บางโรงเรียนไปขอใบเสร็จมาจากร้าน ร้านขอร้อยละ 10-20 โรงเรียนก็ยอม โรงเรียนทำใบส่งขอใบเสร็จไปทำเรื่องมาเบิกเงินใช้ทั่วไป ถ้าใช้สอยในโรงเรียนถึงเด็กบ้างก็ยังดี แต่บางโรงเรียนผู้บริหารเอาเข้ากระเป๋าไปใช้อะไรไม่รู้ ที่ไหนก็มีทุจริต โกง ครูไม่มีคุณธรรม แล้วสอนให้เด็กมีคุณธรรม ไม่รู้จักอายเด็ก ผีสางบ้างหรือ การศึกษาต้องลงทุน แต่ผลขาดทุนเพราะทุจริต
ปัญหาข้อที่ 7 ปัญหาจากเขตพื้นที่การศึกษา เศรษฐกิจ โครงการเพื่อขอจัดตั้งงบประมาณ นำเงินมาใช้ในการบริหารบุคลากรเป็นส่วนมาก และจะจัดอบรมบ่อยมากในวันธรรมดาเวลาราชการและเด็กจะได้ความรู้อะไรจากครู ครูจะเข้าอบรมเพื่อต้องให้เกียรติบัตร เป็นผลงานไว้เลื่อนวิทยฐานะ
ปัญหาข้อที่ 8 ปัญหาจากผู้บริหารระดับสูงกว่าเขตที่กำหนดนโยบายให้เขต โรงเรียน ปฏิบัติเพ้อฝันมาก คาดหวังสูงจนเด็กไม่ได้อะไรจากครู ครูก็โทษเด็ก ว่าดื้อไม่ตั้งใจเรียน ไม่ตั้งใจทำงาน ไม่รับผิดชอบ ครูและผู้บริหารก็โทษผู้ปกครอง ไม่ดูแลเอาใจใส่เด็ก สำนักงานเขตก็มองครูว่าสอนเด็กไม่ดี ต้องให้ครูไปอบรม ครูเขตก็มองผู้ออกข้อสอบไม่ดี เพราะเด็กแต่ละท้องถิ่นแตกต่างกัน ครูสอนบางคนตั้งใจสอนเตรียมการสอนดี สอนดีครูบางคนป่วยทั้งปี ป่วยแล้วไม่ได้ลงเบิกค่ารักษาพยาบาล ได้แต่ไม่มีวันลา ครูบางคนนั่งสอนให้เด็กเรียนกับครูตู้ ครูนั่งคิดแต่ผลประโยชน์ส่วนตัว ออกปล่อยเงินกู้ นั่งคิดแต่รายได้ ดอกเบี้ย และธุรกิจอื่นๆอีกหลายอย่าง ผู้บริหารจะออกจากโรงเรียนไปประชุมทั้งปี ไปราชการตลอด เข้าโรงเรียนสาย ออกก่อน โกหกหลอกครูน้อย อีกประเภทออกไปเอาใจนายซึ่งเป็นผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (ผอ.เขตฯ) บริการทุกอย่างเพื่อให้ได้มาซึ่งตำแหน่ง ขึ้นเงินเดือนอย่างออกนอกหน้า กฎ กติกา เกณฑ์เป็นอย่างไรไม่สำคัญเท่ากับใครเป็นพวกใคร ใครทำงานให้ใคร ปฏิรูปอย่างไรการศึกษาก็ไม่ดีขึ้น เพราะครูเหมือนนักการเมือง ครูเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เยาวชนไทยเป็นคนที่ไม่ดี ไม่มีคุณธรรม ครูเป็นส่วนหนึ่งที่เหมือนโจรปล้นชาติ ปล้นเงินภาษี เอาเปรียบประชาชน ผู้ปกครองเด็ก ยิ่งเทงบประมาณลงไปมากเท่าไหร่ ก็ทุจริตกันมากเท่านั้น ขอโทษครูที่ดีก็มี ไม่ดีก็มี ครูดีผู้บริหารดีจะไม่เจริญก้าวหน้า ครู ผู้บริหารที่ดีก็จะลาออกเข้าโครงการเกษียณออกหมด


ที่มา: Facebook/คุยทุกเรื่องกับสนธิ

ว่าด้วยปัญหาประชาธิปไตย: เสียงข้างมาก vs เสียงคุณภาพ (ความถูกต้อง)