Thursday, July 30, 2015

ชีวิตควรมีแผนสำรองเสมอ

ชีวิตควรมีแผนสำรองไว้รับมือกับเหตุที่ไม่คาดฝันเอาไว้บ้างก็ดี
ไม่ว่าเราจะทำอะไร ควรจะต้องมีคำถามในใจไว้เสมอว่า "อะไรจะเกิดขึ้นถ้า..." 
หากไม่ฝึกหัดตัวเองในเรื่องนี้เอาไว้บ้างก็จะกลายเป็นคนพื้นๆ ดาดๆ ขาดคุณสมบัติไปในที่สุด
อย่าได้คิดเองเออเองเป็นเด็ดขาดว่า ทุกสิ่งทุกอย่างจะถูกต้องเที่ยงตรงอยู่ตลอดเวลา เพราะมันไม่เป็นเช่นนั้นเสมอไป หรืออย่าได้คิดว่าคุณจะผลิตผลงานออกมาได้ดีตลอด
คุณกำลังคิดผิด
และอย่าได้สรุปเองว่าเทคโนโลยีจะใช้งานได้ดี ไม่มีวันผิดพลาด เพราะไม่เป็นเช่นนั้นเสมอไป
อย่าได้ทึกทักไปเองว่าคุณมีเวลาเหลือเฟือ เพราะเมื่อเอาเข้าจริงแล้ว คุณจะมีเวลาไม่พอ
อย่าได้ปักใจเชื่อว่าทีมงานจะมาทันเวลา เพราะไม่แน่เสมอไป
อย่าได้หลงคิดว่าคุณความจำดี จะไม่มีวันหลงลืมสักกระผีก เพราะคุณจะลืมแน่ๆ
อย่าได้ปักใจเชื่อว่าแผน A จะได้ผล เพราะของมันพลาดกันได้
แล้วก็อย่าได้หลงเชื่อว่าแผน B จะได้ผลกับเขาด้วย เพราะวันดีคืนดีก็พลาดกับเขาได้เหมือนกัน
อะไรก็ไม่แน่ไม่นอน แผนสำรองจึงเป็นเรื่องจำเป็น 
 
 
 
 
 
 
 
 

Monday, July 27, 2015

เป้าหมายที่ชัดเจน

เคยได้ยินคำกล่าวต่อไปนี้ไหมครับ
"คุณไม่สามารถบรรลุเป้าหมายที่มองไม่เห็น" 
และคำกล่าวที่ตามมาอีกประโยคก็คือ
"ถ้าคุณไม่รู้ว่ากำลังจะไปไหน เส้นทางสายใดกันเล่าที่จะนำพาคุณไปยังที่แห่งนั้น" 

เป้าหมายที่ชัดเจน เฉพาะเจาะจง เป็นลายลักษณ์อักษร และมีกำหนดเวลา ถือว่ามีความสำคัญอย่างแท้จริงต่อการสร้างสภาพแวดล้อมที่คนเราจะชนะหรือรู้สึกเหมือนเป็นผู้ชนะ
กฎ 10/90 ของการตั้งเป้าหมายช่วยเราได้ในเรื่องนี้ กล่าวคือ
เวลา 10 เปอร์เซ็นต์ที่เราใช้ไปในช่วงแรกเพื่อสร้างความชัดเจนว่าจะต้องทำอะไร จะทำให้เราประหยัดเวลาไปได้ 90 เปอร์เซ็นต์ทันทีที่เราเริ่มลงมือทำ
ยิ่งไปกว่านั้น
มันยังสามารถป้องกันเราจากความผิดพลาด ความสิ้นเปลือง และการสูญเสียเวลาของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้ถึง 90 เปอร์เซ็นเลยทีเดียว

 
 
 
 
 
 

โลกเก่าๆ ของอาจารย์ทันสมัย

ผมเขียนบล็อคนี้ก็เพื่อที่จะบอกว่า ยังมีโลกเก่าๆ ของอาจารย์มหาวิทยาลัยจำนวนมากที่ก้าวไม่ทันกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีการสื่อสาร
โลกเก่าๆ ของอาจารย์เหล่านี้ หมายความว่า อาจารย์เหล่านี้เป็นผู้ที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย มีสมาร์ทโฟน ใช้แอฟทันสมัยต่างๆ มีไลน์ มีเฟสบุ๊ค เช็คข่าวข้อมูลที่ทันสมัยอยู่ตลอดเวลาแบบเรียลทาม
แต่ครั้น เมื่อนักศึกษาในที่ปรึกษาจัดส่งไฟล์งานรวมทุกบทเป็น PDF คณาจารย์มหาวิทยาลัยที่อยู่ในโลกเก่าๆ เหล่านั้น กลับต้องการอ่านไฟล์งาน PDF ในรูปของเล่มรายงานที่จะต้องพริ้นออกมา เข้ารูปเล่มให้สิ้นเปลืองกระดาษ สิ้นเปลืองเวลา เงินทองและค่าใช้จ่าย และต้องนำไปส่งอย่างมีพิธีรีตรอง
โลกแบบนี้แหละครับ เป็นโลกของวิธีคิดแบบเก่าๆ โดยที่เจ้าตัวเองไม่รู้ตัว 

Tuesday, July 21, 2015

ขยันแต่เรื่องโง่ๆ

นายพล อีริค วอง มันสเตน (Erich von Manstein) 


นายพลท่านนี้ได้เสนอเมตริกซ์อธิบายคุณลักษณะของบุคคลใน 2 มิติที่สำคัญ 
ได้แก่ 
(1) มิติความฉลาดและความโง่
(2) มิติความขยันและความขี้เกียจ
เมื่อนำ 2 มิติมาไขว้เป็นตารางเมตริกซ์ก็จะได้ดังภาพด้านล่าง


อธิบายได้ว่า
  1. คนที่ขี้เกียจและโง่ เราไม่ต้องไปยุ่งอะไรกับเขา
  2. คนที่ขี้เกียจและฉลาดสามารถเป็นดาวเด่นได้
  3. คนที่ขยันและฉลาดสามารถเป็นเจ้าหน้าที่ชั้นเลิศได้
  4. คนที่ขยันและโง่อันตรายที่สุด เพราะพวกเขาจะขยันแต่เรื่องโง่ๆ
บุคคลประเภทสุดท้ายนี้ 
ถ้าไปถาม อด๊อฟ ฮิตเลอร์ 
ฮิตเลอร์จะสั่งฆ่าทิ้ง เพราะสร้างความเสียหายให้แก่องค์กรอย่างไม่น่าให้อภัย