Thursday, July 24, 2014

ว่าด้วยพุทธะ

พุทธคุณ ๙ นี้เป็นสิ่งที่ผมใช้สวดมนต์ก่อนนอนเพื่อระลึกนึกถึงพระพุทธองค์ในฐานะที่พุทธองค์เป็นมนุษย์คนหนึ่งที่พัฒนาตัวเองจนบรรลุศักยภาพของความเป็นมนุษย์ ความหมายของพุทธคุณ ๙ ก็น่าสนใจ ลองอ่านกันดูนะครับ
๑) อรหํ (เป็นพระอรหันต์ คือ เป็นผู้บริสุทธิ์ ไกลจากกิเลส ทำลายกำแห่งสังสารจักรได้แล้ว เป็นผู้ควรแนะนำสั่งสอนผู้อื่น ควรได้รับความเคารพบูชา)
๒) สมฺมาสมฺพุทฺโธ (เป็นผู้ตรัสรู้ชอบเอง)
๓) วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน (เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชา คือความรู้ และจรณะ คือ ความประพฤติ)
๔) สุคโต (เป็นผู้เสด็จไปดีแล้ว คือ ทรงดำเนินพระพุทธจริยาให้เป็นไปโดยสำเร็จผลด้วยดี พระองค์เองก็ได้ตรัสรู้สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้า ทรงบำเพ็ญพุทธกิจก็สำเร็จประโยชน์ยิ่งใหญ่แก่ชนทั้งหลายในที่ที่เสด็จไป และได้ประดิษฐานพระศาสนาไว้ แม้ปรินิพพานแล้วก็เป็นประโยชน์แก่มหาชนสืบมา)
๕) โลกวิทู (เป็นผู้รู้แจ้งโลก คือ ทรงรู้แจ้งสภาวะอันเป็นคติธรรมดาแห่งโลกคือสังขารทั้งหลาย ทรงหยั่งทราบอัธยาศัยสันดานแห่งสัตวโลกทั้งปวง ผู้เป็นไปตามอำนาจแห่งคติธรรมดาโดยถ่องแท้ เป็นเหตุให้ทรงดำเนินพระองค์เป็นอิสระ พ้นจากอำนาจครอบงำแห่งคติธรรมดานั้น และทรงเป็นที่พึ่งแห่งสัตว์ทั้งหลายผู้ยังจมอยู่ในกระแสโลกได้) 
๖) อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ (เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ฝึกได้ ไม่มีใครยิ่งไปกว่า คือ ทรงเป็นผู้ฝึกคนได้ดีเยี่ยม ไม่มีผู้ใดเทียมเท่า) 
๗) สตฺถา เทวมนุสฺสานํ (เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย)
๘) พุทฺโธ (เป็นผู้ตื่นและเบิกบานแล้ว คือ ทรงตื่นเองจากความเชื่อถือและข้อปฏิบัติทั้งหลายที่ถือกันมาผิดๆ ด้วย ทรงปลุกผู้อื่นให้พ้นจากความหลงงมงายด้วย อนึ่ง เพราะไม่ติด ไม่หลง ไม่ห่วงกังวลในสิ่งใดๆ มีการคำนึงประโยชน์ส่วนตนเป็นต้น จึงมีพระทัยเบิกบาน บำเพ็ญพุทธกิจได้ถูกต้องบริบูรณ์ โดยถือธรรมเป็นประมาณ การที่ทรงพระคุณสมบูรณ์เช่นนี้ และทรงบำเพ็ญพุทธกิจได้เรียบร้อยบริบูรณ์เช่นนี้ ย่อมอาศัยเหตุคือความเป็นผู้ตื่น และย่อมให้เกิดผลคือทำให้ทรงเบิกบาน) 
๙) ภควา (ทรงเป็นผู้มีโชค คือ จะทรงทำการใด ก็ลุล่วงปลอดภัยทุกประการ หรือ เป็นผู้จำแนกแจกธรรม) 
เนื้อหาของ พุทธคุณ ๙ ทั้งหมดข้างต้น ผมคัดมาจากหนังสือ พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม (Dictonary of BUDDHISM) ของพระธรรมปิฎก (ป. อ. ปยุตฺโต)




ใครสนใจอยากอ่านทั้งเล่ม ไม่ต้องไปหาซื้อหรอกครับ เขามีให้ดาวน์โหลด ที่นี่เลยครับ
http://www.watnyanaves.net/uploads/File/books/pdf/dictionary_of_buddhism_pra-muan-dhaama.pdf

อีกเล่มก็ดีมากๆ สำหรับคนที่สนใจพุทธศาสนาแบบเอาจริงเอาจัง ผมอ่านเล่มนี้สมัยตอนบวช อ่านจบไป ๒ รอบ และตัดสินใจซื้อไว้เล่มนึงเป็นของมือสอง ฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๗ อ่านแล้วก็ได้อะไรไปคิดต่ออีกมากมาย พยายามหาสารคดีมาดูประกอบ (ชมได้ที่นี่) ทุกวันนี้ก็ยังกลับไปอ่านไปค้นอยู่เรื่อยๆ เมื่อสงสัยหรือไม่เข้าใจ เพราะท้ายเล่มท่านปยุตโตได้ทำดัชนีให้สืบค้นไว้อย่างดีทีเดียว เล่มนี้หนาอยู่สักหน่อยหนา 1,000 กว่าหน้า ดาวน์โหลดได้ที่นี่เลยครับ



อันนี้ คือ ความประสงค์ประการหนึ่งของท่าน ป. อ. ปยุตฺโต ในการแต่ง พุทธธรรม เล่มนี้ขึ้นมาครับ (ปรากฎอยู่ที่หน้า ๑๑๔๕)

ใช่ว่าผมจะเขียนเชียร์ตำราพุทธธรรมเล่มนี้ของท่าน ป. อ. ปยุตฺโตก็หาไม่ ข้อวิพากษ์วิจารณ์งานเขียนชิ้นนี้ก็มีนะครับ ใครอยากรู้ว่าถูกวิพากษ์วิจารณ์โจมตียังไง ก็ลองอ่านจากวารสารปัญญา (คลิกได้เลยครับ) ของศาสตราจารย์ ดร.สมภาร พรหมทา เล่มนี้ดูนะครับ (อ่านตั้งแต่หน้า ๔๘๑ เป็นต้นไป)



No comments:

Post a Comment