Tuesday, July 29, 2014

ผู้ที่เรียนประวัติศาสตร์


เฮาเวิร์ด การ์ดเนอร์ (Howard Gardner, ค.ศ. 1943 - ปัจจุบัน) ผู้เสนอทฤษฎี Theory of Multiple Intelligence

Gardner เล่าเรื่องของผู้ที่เรียนประวัติศาสตร์ไว้อย่างน่าสนใจว่า ผู้ที่เรียนประวัติศาสตร์มักจะชอบทำงานกับหลักฐานบันทึกที่เป็นตัวหนังสือ ภาพ หรือรูปแบบอื่นๆ รวมถึงชอบรื้อหลักฐานมาประกอบใหม่และตีความ ประวัติศาสตร์แตกต่างจากวิทยาศาสตร์ตรงที่เหตุการณ์ในประวัติศาสตร์เกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวและไม่อาจผลิตซ้ำหรือตีความอย่างตรงไปตรงมาได้ (Unlike science, historical events occur only once and cannot be replicated exactly or interpreted unambiguously.)
นักประวัติศาสตร์ต้องคาดเดาแรงจูงใจของบุคคลในอดีต แต่ละยุคสมัยจึงมีการเรียบเรียงประวัติศาสตร์ขึ้นใหม่ (Historians must impute motives to personages from the past; each generation will necessarily rewrite history.)
กระนั้นก็ตาม นักประวัติศาสตร์ต้องเคารพข้อเท็จจริงและพยายามรวบรวมหลักฐานที่ถูกต้องให้ครบถ้วนที่สุดเท่าที่จะทำได้  (Yet historians are bound to respect the facts and to strive for as accurate and comprehensive a record as possible.)
สาขาวิชาอื่นๆ ตั้งแต่พันธุกรรมศาสตร์จนถึงเศรษฐศาสตร์ต่างก็มีระเบียบและข้อจำกัดที่คล้ายๆ กัน
หากประเมินคร่าวๆ คนคนหนึ่งจะใช้เวลาประมาณ 10 ปีเพื่อเรียนรู้สาขาวิชาประวัติศาสตร์ ก่อนจะได้ชื่อว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญสาขาวิชานี้ (ตัวเลข 10 ปีนี้เป็นเกณฑ์เฉลี่ยโดยทั่วๆ ไปซึ่งรวมไปถึงสาขาวิชาอื่นๆ ด้วย) และโดยมากแล้วความเชี่ยวชาญนั้นๆ ได้มาจาก 2 แหล่ง นั่นคือ แหล่งแรก ได้มาจากการอบรมสั่งสอนในแบบที่เป็นทางการอย่างในสถาบันการศึกษา และแหล่งที่สอง ได้มาจากแบบที่ไม่เป็นทางการมากนักจากกระบวนการฝึกฝนต่างๆ และการเรียนรู้ด้วยตนเอง
ป.ล. 
ใครสนใจอยากดูตัวอย่างงานประวัติศาสตร์ดีๆ โดยผู้เชี่ยวชาญประวัติศาสตร์ที่เป็นคนไทย ผมแนะนำให้ลองหาหนังสือเล่มนี้มาอ่านกันดู กำเนิดสยามจากแผนที่ ประวัติศาสตร์ภูมิกายาของชาติ (Siam Mapped: A History of the Geo-Body) ซึ่งเป็นหนังสือที่ปรับปรุงมาจากดุษฎีนิพนธ์ของ ดร.ธงชัย วินิจจะกูล ต้นฉบับภาษาอังกฤษมีให้ดาวน์โหลดนะครับ ที่นี่ ส่วนฉบับแปลภาษาไทยหาซื้อได้ทั่วไป เล่มนี้เลยครับ 

No comments:

Post a Comment