Saturday, July 5, 2014

รัฐเก่าในขวดใหม่


ในทศวรรษสุดท้ายของคริสต์ศตวรรษที่ ๒๐ เกิดเหตุการณ์ผันผวนและมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและเศรษฐกิจสังคมในบรรดาประเทศอุษาคเนย์อย่างขนานใหญ่ เช่น วิกฤตเศรษฐกิจฟองสบู่แตก เริ่มจากประเทศไทยในปี พ.ศ. ๒๕๔๐ จนนำไปสู่การมีขบวนการปฏิรูปการเมืองอันทำให้ได้รัฐธรรมนูญใหม่ เดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๓ เกิดวิกฤตศรัทธาในตัวประธานาธิบดีเอสตราดาของฟิลิปปินส์และมหาธีร์ของมาเลเซีย ก่อนหน้านั้นระบอบปกครองเผด็จการในนาม "ระเบียบใหม่" (New Order) ของประธานาธิบดีซูฮาร์โตก็ถูกพลังประชาชนประท้วงจนต้องลาออกไปในที่สุด ยุติระบอบอำนาจนิยมที่ยาวนานที่สุดในอุษาคเนย์ลง ต่อมาก็เป็นวิกฤตของประธานาธิบดีวาฮิดแห่งอินโดนีเซีย ตามด้วยวิกฤตศาลรัฐธรรมนูญกับนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร เป็นต้น ทั้งหมดนั้นเป็นตัวอย่างจำนวนหนึ่งของแนวโน้มใหญ่ในรัฐและการเมืองของประเทศอุษาคเนย์ในช่วงสุดท้ายของศตวรรษที่ ๒๐ และที่กำลังก้าวเข้าสู่สหัสวรรษใหม่ บทความนี้ต้องการเสนอการวิเคราะห์ถึงกระบวนการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงสำคัญๆ ที่มีส่วนในการสร้างรัฐและชาติใหม่ในอุษาคเนย์หลังจากได้รับการปลดปล่อยจากเอกลัทธิอาณานิคม และปัญหาที่เกิดในกระบวนการสร้างชาติและรัฐใหม่ ในตอนสุดท้ายจะเสนอแนวการเมืองถึงกระบวนการใหม่ที่จะก่อตัวขึ้นในอนาคต
ดาวน์โหลดอ่านบทความฉบับเต็มได้ที่นี่
http://www.tci-thaijo.org/index.php/liberalarts/article/view/13889

No comments:

Post a Comment