Sunday, June 15, 2014

ปัญหาของการมองมุมเดียว


การมองในมุมเดียวย่อมทำให้ทัศนวิสัยมีขีดจำกัด
เป็นผลให้มนุษย์แต่ละคนไม่สามารถเห็นอะไรได้ครอบคลุมทุกแง่ทุกมุมได้
สิ่งที่แต่ละคนเห็นเป็นเพียงเสี้ยวส่วนหนึ่งของความเป็นจริงเท่านั้น

กล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า ทัศนะเป็นเสมือน 'แว่นตา'
ที่กั้นระหว่างบุคคลกับความจริงในโลก เป็นแว่นตาที่ประกอบไปด้วยสมมุติฐาน
ค่านิยม ความคิดของแต่ละบุคคล ซึ่งทำให้สิ่งที่ผู้สวมใส่มองเห็นเจือไปด้วย

อคติของผู้นั้นเอง ทำให้มนุษย์ไม่สามารถมองอะไรโดยตรงได้ และ
มักยึดกับทัศนะของตน ทัศนะมิได้เป็นสิ่งที่บุคคลเลือกสรรมาอย่างมีเจตจำนง
แต่เป็นสิ่งที่สร้างขึ้นโดยสังคมและเปลี่ยนแปลงไปตามกลุ่มสังคมหรือ
บทบาที่บุคคลดำรงอยู่ในช่วงเวลาหนึ่ง

กระบวนการหล่อหลอมของแต่ละสังคมทำให้เรา 'ตีความ' สิ่งต่างๆ ในโลก
ตาม 'นิยาม' (definition) ที่สังคมยอมรับ

ดังนั้น

ความเป็นจริงที่เราเห็นจึงเรียกว่าเป็น 'ความเป็นจริงทางสังคม' (social reality)

ชนิดา เสงี่ยมไพศาลสุข, นพพร ประชากุล, บรรณาธิการ. (2550). มโนทัศน์สำคัญๆ ทางสังคมวิทยา-มานุษยวิทยาในผลงานของปิแยร์ บูร์ดิเยอ (น. 47-155). เศรษฐกิจของทรัพย์สินเชิงสัญลักษณ์. กรุงเทพฯ: คบไฟ. น. 55.

No comments:

Post a Comment