Sunday, June 22, 2014

ระบอบการปกครองแบบไทยๆ

ปกติ เวลาผมเขียนหรือโพสต์เนื้อหาอะไรใส่ไปในโลกออนไลน์ ผมมีกลุ่มเป้าหมายมุ่งไปที่บุคคลทั่วๆ ไป โดยเฉพาะพวกคนชั้นกลางเป็นหลัก ไม่ได้มีเจตนาโดยตรงที่จะให้พวกนักวิชาการ นักศึกษาปริญญาโทหรือนักศึกษาปริญญาเอก หรือบรรดาอาจารย์มหาวิทยาลัย ผู้รู้หรือนักปราชญ์อ่าน

เป้าหมายแท้จริงของผมมุ่งจะให้ข้อมูลกับคนทั่วๆ ไปที่เป็นคนชั้นกลางๆ ที่ไม่ประสีประสากับเรื่องราวทางการเมือง รัฐศาสตร์ ประวัติศาสตร์ สังคมศาสตร์ให้ได้คิดกับข้อมูลที่ผมเสนอออกไป

เนื้อหาต่อไปนี้ก็เช่นกัน ผมไม่อยากอ้างแหล่งที่มา เพราะไม่อยากจะให้สนใจว่าใครเป็นคนเขียน เอาเป็นว่าให้สนใจเนื้อหาที่เขาเขียนก็แล้วกัน ก็เหมือนๆ กับการเสนอให้สนใจที่เนื้อหาอย่าสนใจว่าเอามาจากเว็บไซต์ไหนหรือใครเป็นคนพูด แต่ให้ดูว่าเขาพูดหรือเขียนว่าอะไร จากนั้นก็ให้ผู้อ่านลองเก็บเอาไปคิดเองหรือถ้าหากมีเวลาก็ค้นคว้าเพิ่มเติมต่อเอาเอง

ระบอบการปกครองแบบไทยๆ



ปัจจุบันเราเรียกระบอบการปกครอง หรือ form of government ของไทยเราว่าเป็นระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ควรที่จะเรียกอีกแบบหนึ่ง คือ ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่มีคณะรัฐมนตรีบริหารราชการ ... เป็นรูปแบบที่จงใจจะจำกัดความหลากหลาย ไม่ใช่เฉพาะในเชิงสังคมวัฒนธรรมอย่างเดียวเท่านั้น แต่ทว่าเป็นการจำกัดความหลากหลายในระดับที่ผมเรียกว่า ระดับ existentialist (การดำรงอยู่) เป็นความหลากหลายในเชิงความเป็นตัวตนของมนุษย์ ใน existential activity (กิจกรรมการดำรงอยู่) หรือเป็น existential diversity (ความหลากหลายของการดำรงอยู่) 
 โดยพื้นฐานแล้ว ความเป็นมนุษย์เราคืออะไร ในความคิดผม สิ่งที่เป็นหัวใจของมนุษย์เลยคือ freedom คือ เสรีภาพ* ... ถ้ามนุษย์ไม่สามารถจะคิดอะไรที่อยากจะคิดได้ ไม่สามารถที่จะพูดอะไรในสิ่งที่ตัวเองอยากพูดได้ ก็ไม่ใช่มนุษย์แล้ว ฉะนั้น โดยระบอบการปกครองแบบนี้ เนื้อแท้ของมันออกแบบให้จำกัด existence ของเรา

*เสรีภาพ (freedom) : ความมีเสรี สภาพที่เป็นอิสระ หมายความถึงสิทธิของบุคคลที่จะกระทำการใดๆ ได้อย่างอิสระ โดยไม่เป็นการล่วงล้ำสิทธิเสรีภาพของบุคคลอื่น และไม่เป็นกรขัดต่อกฎหมาย เสรีภาพแบ่งออกเป็นเสรีภาพในฐานะที่เป็นมนุษย์ หรือสิทธิของมนุษยชน และเสรีภาพในฐานะที่เป็นพลเมืองของประเทศ

เสรีภาพในฐานะที่เป็นมนุษย์ เช่น เสรีภาพในร่างกาย เสรีภาพในครอบครัวหรือความเป็นอยู่ส่วนตัว เสรีภาพในเคหสถาน เสรีภาพในการถือศาสนา เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น เสรีภาพในทางวิชาการ

ส่วนเสรีภาพในฐานะที่เป็นพลเมืองของประเทศ เช่น เสรีภาพในการมีส่วนร่วมในการปกครองประเทศ เสรีภาพในการชุมนุม เสรีภาพในการรวมกันเป็นสมาคม เป็นพรรคการเมือง
พจนานุกรมศัพท์รัฐศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, น. ๑๑๘


No comments:

Post a Comment