Wednesday, June 25, 2014

ว่าด้วยคำว่ารัฐ

คำว่า รัฐ อาจสรุปในเชิงแนวคิดได้ว่าคือ 
1) รัฐบาล 
2) ระบบราชการหรือการบริหาร 
3) ชนชั้นปกครอง 
4) ระเบียบในเชิงปทัสถานอย่างที่ Clifford Geertz เรียกว่า “Negara” 

สำหรับนักวิชาการอื่นๆ สรุปรวบยอดแนวคิดรัฐว่าเป็นองค์การทางการเมืองที่ซับซ้อนประกอบด้วยองค์ประกอบ 10 ประการต่อไปนี้ คือ 
1) เขตแดน 2) ประชากร 3) ความต่อเนื่อง 4) รัฐบาล 5) หน้าที่ด้านต่างๆ (ความมั่นคง, กฎระเบียบ, ความยุติธรรม, สวัสดิการ) 6) ทรัพยากร 7) การคลัง 8) ระบบราชการ 9) อำนาจอธิปไตย และ 
10) การดำรงอยู่ของส่วนอื่นๆ ของสังคมภายในรัฐ

แต่สิ่งที่สัมพันธ์เกี่ยวข้องกับรัฐในแง่ที่เป็น จินตกรรม/จินตนาการ ก็คือองค์ประกอบในข้อที่ 3) ว่าด้วยความต่อเนื่อง กับข้อที่ 9) อำนาจอธิปไตย ซึ่งองค์ประกอบ 2 ประการนี้สัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด

สำหรับอำนาจอธิปไตยนั้นได้ให้องค์ประกอบที่จำเป็นในการถ่ายโอนสิ่งที่เป็นนามธรรมไปสู่ความเข้าใจของประชาชนในรัฐ ขณะที่ความต่อเนื่องทำหน้าที่เชื่อมโยงสิ่งที่เป็นนามธรรม ประวัติศาสตร์มีบทบาทอย่างสำคัญในการเชื่อมโยง 2 องค์ประกอบดังกล่าวนี้ เพราะเหตุว่า อำนาจของประวัติศาสตร์นั้นไม่ได้อยู่ที่เอกสารตำราในเชิงวิชาการและไม่ได้เป็นเรื่องของเหตุการณ์ตามลำดับกาลเวลา แต่ประวัติศาสตร์เป็นเรื่องของการให้ความหมายในเชิงวัตถุวิสัยโดยผู้คนกลุ่มหนึ่งๆ ในฐานะชนชั้นปกครองได้หยิบยื่นให้แก่ประวัติศาสตร์ในฐานะที่พวกเขาพยายามอย่างหนักที่จะรักษาชุมชนจินตกรรมของพวกเขาเอาไว้ซึ่งมันจะช่วยนิยามความเป็นวิถีชีวิตของพวกเขาหรือชนชั้นของผู้ปกครองเอาไว้

No comments:

Post a Comment