Saturday, June 21, 2014

ความยุติธรรมในประเทศไทย

ข่าวกรณีของจาตุรนต์ ฉายแสง 
ชวนให้นึกถึงหนังสือแปล เล่มนี้

บทสนทนาตอนหนึ่งในหนังสือชวนให้ตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับ 
"ความยุติธรรมในประเทศนี้" 
ว่า มันเหมือนหรือต่างจาก "ความยุติธรรม" ตามสามัญสำนึกของเราอย่างไร?

ทนายจำเลย คลาริสซ่า 
                ท่านได้รับฟังหลักฐานจากผู้เชี่ยวชาญทางวิทยาศาสตร์หลายต่อหลายท่านว่าการตรวจ
สอบดินระเบิดเจลิกไนต์ที่ใช้เป็นพื้นฐานมาตัดสินว่าผู้ยื่นอุทธรณ์มีความผิดนั้น ล้วนแต่เชื่อถือไม่ได้
ทั้งสิ้น เชื่อถือไม่ได้พอๆ กับหลักฐานของนักพิสูจน์ลายนิ้วมือที่ฝ่ายอัยการใช้มาฟ้องร้องดำเนินคดี...
             ท่านได้ฟังหลักฐานจากเจ้าหน้าที่เรือนจำจำนวนหนึ่งว่าผู้ยื่นอุทธรณ์ถูกซ้อมสะบักสะบอม
ว่าที่พวกเขาตาเขียวช้ำ ซี่โครงหักและมีบาดแผลถลอกปอกเปิกนั้นหาใช่เกิดจากนิสัยวิตถารประเภท
อยู่ดีๆ ก็ชอบทุ่มตัวตกบันไดลงมาซึ่งทั้งห้ามีตรงกันตามที่เจ้าหน้าที่กล่าวอ้างในตอนนั้นไม่
              ท่านได้ฟังและเห็นหลักฐานที่มิอาจบ่ายเบี่ยงเป็นอื่นได้ว่าบันทึกที่จดปากคำผู้ยื่นอุทธรณ์
นั้นได้ถูกปลอมแปลงขึ้นภายหลังโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้ทำการสอบสวน เราพิสูจน์จนได้ข้อยุติว่า
เจ้าหน้าที่ตำรวจผู้รับผิดชอบคดีนี้ เมื่อรังแกข่มขู่ลูกความของดิฉันจนรีดเค้นเอาคำสารภาพได้แล้วยัง
มิหนำใจ ก็ถึงกับตกแต่งแก้ไขหลักฐานของตนเองโดยเขียนหน้าต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับคดีนี้ในสมุด
บันทึกของพวกเขาขึ้นใหม่หมด

อัยการ ออกุสตุส 
                เพื่อนผู้รอบรู้ของกระผมขอให้เรายอมรับว่ามีข้อสงสัยที่มีเหตุผลว่าผู้ยื่นอุทธรณ์เป็นตัว
การวางระเบิดร้านกาแฟแมวกับแตงจริงหรือไม่ ทว่าท่านผู้พิพากษาที่เคารพ อะไรหรือคือข้อสงสัยที่
มีเหตุผล? เมื่อไหร่จึงมีเหตุผลที่จะสงสัย? ใครกันที่เรามีเหตุผลจะสงสัย?.....
              “ท่านผู้พิพากษาที่เคารพ กระผมต้องขอถามว่ามีเหตุผลหรือไม่ที่จะสันนิษฐานว่าคนเหล่านี้
มิใช่ผู้ก่ออาชญากรรมอันสยดสยองรายนี้ในเมื่อบัดนี้สิบห้าปีผ่านไป แทบไม่มีโอกาสเหลือแล้วที่จะ
คนพบตัวผู้ต้องหาเผื่อเลือกรายอื่นมาดำเนินคดี? มีเหตุผลหรือไม่ที่จะล้มเลิกสมมติฐานที่น่าเชื่อใน
สภาพที่ไม่มีสมมติฐานแย้งที่น่าเชื่อใดๆ อยู่เลย? กระผมใคร่ตั้งข้อสังเกตว่าข้อโต้แย้งของผู้อุทธรณ์
ไม่มีเค้ารอยข้อเสนอแนะใดๆ เลยว่าใครล่ะที่อาจเป็นผู้ก่ออาชญากรรมรายนี้ ถ้าหากพวกเขาบริสุทธิ์
จริง?”

ผู้พิพากษาถ้วนเท่ากับ อธิบดีศาลสูง
                จำต้องกล่าวย้ำซ้ำแล้วซ้ำอีกอย่างไม่รู้เหนื่อยหน่ายในศาลแห่งนี้ว่าคติบทพื้นฐานของความ
ยุติธรรมแห่งประโยชน์นครคือ ประโยชน์สุขของประชาชนคือกฎหมายสูงสุด คติบทนี้ประยุกต์ใช้
ได้ดียิ่งกับคำถามเบื้องหน้าเรา เรามีเหตุผลที่จะสงสัยก็ต่อเมื่อประโยชน์สุขของประชาชนเรียกร้อง
ต้องการให้สงสัยเท่านั้น หาไม่แล้วก็ไม่มีเหตุผลที่จะสงสัย ก็แล้วประโยชน์สุขโดยรวมจะได้รับการ
ส่งเสริมเพิ่มพูนขึ้นด้วยการสงสัยความเที่ยงตรงต่อสัจจะและซื่อสัตย์สุจริตของเจ้าหน้าที่ตำรวจ
รวมทั้งปรีชาญาณของผู้พิพากษากับคณะลูกขุนของเรากระนั้นหรือ? การปลูกฝังความสงสัยดัง
กล่าวให้เกิดขึ้นจะไปรับใช้ผลประโยชน์ใคร?
               “กฎหมายคือกลไกมหึมาเพื่อผลิตสิ่งดีงามในอนาคตขึ้นมาจากเรื่องเลวร้ายในอดีต โดย
เฉพาะอย่างยิ่งกฎหมายอาญานั้นมุ่งสนองตอบต่อความอยุติธรรม อาชญากรรมและการประพฤติผิด
เล็กๆ น้อยๆ ในอดีตด้วยการประยุกต์ใช้ระบบการลงอาญาที่จำแนกตามความผิดขั้นหนักเบาอย่าง
ละเอียดเพื่อเพิ่มการประพฤติดีในอนาคตให้สูงสุดโดยผ่านการป้องปราม
                หากจะให้กลไกนี้ดำเนินงานด้วยดี มีเงื่อนไขจำเป็นสามประการ ประการแรก อาชญา-
กรรมต้องถูกลงโทษ ประการที่สอง การลงโทษต้องสาสมกับความผิด ประการที่สาม ต้องเชื่อกันทั่ว
ไปว่าอาชญากรถูกลงโทษ ความเชื่อประการสุดท้ายนี้จะปล่อยให้ถูกบ่อนทำลายไม่ได้ไม่ว่าจะต้อง
แลกด้วยอะไร
                ยิ่งในสถานการณ์ปัจจุบันที่เราต้องเผชิญกับการรณรงค์ก่อการร้ายต่อวิถีชีวิตแบบประ-
โยชน์นครโดยบรรดาพวกต่อต้าน วิถีชีวิตของเราอย่างไม่ลดละเลิกรา ก็ยิ่งจะต้องยึดหลักประการนี้
ให้มั่นเป็นพิเศษ พวกที่มีศักยภาพจะกลายเป็นผู้ก่อการร้ายและอาชญากรจักต้องถูกยับยั้งไว้ด้วย
ความกลัวผลลัพธ์แห่งการกระทำของตน
                ก็แลความสงสัยที่เราได้รับการเชิญชวนให้มีในวันนี้ย่อมจักไม่ปลุกเร้าความกลัวดังกล่าว
ให้หนักหน่วงรุนแรงขึ้น เป็นที่รู้กันว่ามีผู้กล่าวว่าความยุติธรรมควรจะตาบอด นั่นเป็นเท็จ ความ
ยุติธรรมต้องหูหนวกต่างหาก หนวกต่อความสงสัยประดามีที่จะบ่อนทำลายการธำรงความ
ความยุติธรรม.....
                ระบบยุติธรรมของเราทั้งหมดจะดำเนินงานได้ก็ต่อเมื่อทุกคนเชื่อว่ามันดำเนินงานไปด้วยดี
ผู้คิดจะกระทำผิดต้องถูกทำให้เชื่อว่าความผิดที่เขาคิดทำจะไม่คุ้ม และคนอื่นที่เหลือทุกคนก็ต้องถูก
ทำให้เชื่อว่าผู้คิดจะกระทำผิดเชื่อเช่นนั้น ด้วยวิธีการนั้นเราก็ลดทอนการละเมิดกฎหมายให้เหลือต่ำ
สุด และเพิ่มทั้งความมั่นคงและความรู้สึกมั่นคงของเราได้สูงสุดด้วย
                ลองดูคดีที่คุณเห็นวันนี้สิ คำพิพากษาอันเดิมที่ตัดสินลงโทษผู้ยื่นอุทธรณ์ช่วยค้ำจุนความ
เชื่อของทุกคนว่าระบบดำเนินงานไปด้วยดี คุณอาจจะพูดก็ได้ว่าคำพิพากษาอันหนึ่งช่วยรักษาคำ
พิพากษาอีกอันไว้ ขืนกลับคำพิพากษาอันแรก คุณก็บ่อนทำลายคำพิพากษาอันหลังเท่านั้นเอง
                ท่านกำลังบอกว่า นิโคลาสถาม ถ้าหากคนทั้งห้าบริสุทธิ์ ก็จะต้องบูชายัญพวกเขาเพื่อ
เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมยังงั้นหรือครับ?”
                “แหม ภาษาของคุณจัดจ้าน ศาสตราจารย์ ผู้พิพากษากล่าว ถ้าให้ผมพูด ผมจะไม่ใช้คำ
อย่างบูชายัญหรอก อันที่จริงนั่นเป็นแนวคิดที่แทบไม่มีใครเข้าใจในประโยชน์นคร มันเป็นอุปมา
อุปไมยทางศาสนาที่ตกทอดมาจากอดีต ไม่ค่อยเหมาะสมกับสภาพการณ์ของเราเท่าไรนัก
ผมชอบอุปมาอุปไมยทางเศรษฐกิจหรือการค้ามากกว่า พูดอย่างนี้เถอะว่าสิ่งที่เราเผชิญวันนี้เป็น
เรื่องของการได้อย่างเสียอย่าง
                นิโคลาสถามยืนเพราะคำถามนี้ยังรบกวนใจเขาอยู่ แต่สมมตินะครับ เขาถามผู้พิพากษา
ว่านักหนังสือพิมพ์เห็นชายคนหนึ่งอ้างปาว ๆ อยู่บนหลังคาคุกว่าเขาบริสุทธิ์ เขาควรจะสอบสวน
คำอ้างนั้นหรือเดินหนีไปเสียเฉยๆ ดี?”
                “โอ๊ย เดินหนีไปเลย!” ผู้พิพากษาถ้วนเท่ากับบอก ช่างหัวมัน ผมได้รับจดหมายเยอะแยะ
จากคนคุกที่บอกว่าพวกมันถูกพิพากษาผิด ๆ ผมเกรงว่าผมคงโยนจดหมายพวกนั้นลงตะกร้าเศษ
กระดาษไปหมดแล้ว

No comments:

Post a Comment