Saturday, June 21, 2014

สายธารประวัติศาสตร์ประชาธิปไตยไทย

อย่าอคติ พอเห็นว่าเป็นเว็บไซต์ 'ประชาไท' ก็ไม่คิดจะเปิดใจเรียนรู้หรือเปิดใจอ่านเนื้อหาข้างใน
หากมีหัวใจที่ใฝ่เรียนรู้ โดยเฉพาะเรื่องราวทางประวัติศาสตร์การเมืองไทย ผมขอแนะนำให้ลองอ่านบทความชิ้นนี้ดู แม้จะเป็นเว็บไซต์ที่เราไม่ชอบหรือรังเกียจก็ตาม ลองเปิดใจ (open mind) อ่านดู


 



"ในที่สุด โอกาสครอบรอบ 82 ปีประชาธิปไตยไทยก็ได้เวียนมาถึงอีกครั้ง ในบรรยากาศที่เหลือเชื่อจนผู้ก่อการคณะราษฎรไม่มีทางที่จะสร้างจินตนาการล่วงหน้าได้ว่า ประชาธิปไตยจะมีการพัฒนาลดเลี้ยวอย่างนี้ ในโอกาสนี้ก็อยากจะทบทวนเล่าถึงคณะราษฎร ซึ่งเป็นกองหน้าที่นำประชาธิปไตยมาสู่สังคมไทย แม้ว่าจะถูกฝ่ายขุนศึกและพวกอนุรักษ์นิยมสลิ่มทำลายเสียมากมายก็ตาม




คณะราษฎรเริ่มต้นโดยนักเรียนไทยในปารีส 2 คน คือ นายปรีดี พนมยงค์ นักเรียนกฎหมายกระทรวงยุติธรรม และ นายประยูร ภมรมนตรี นักเรียนทุนส่วนตัวที่ไปเรียนวิชารัฐศาสตร์ ทั้งสองคนได้แลกเปลี่ยนกันเรื่องปัญหาการเมืองของประแทศสยามเสมอ วันหนึ่งในเดือนสิงหาคมของ พ.ศ.2467 ทั้งสองคนไปกินอาหารที่ร้านอังรีมาร์แตง นายประยูรจึงชักชวนนายปรีดีว่า “เราได้พูดเรื่องการเมืองมามากแล้ว สมควรจะลงมือเสียที” นายปรีดีก็ตอบตกลง แต่ต่อมาอีก 2-3 วันนายปรีดีเกิดความไม่แน่ใจ เพราะคุณประยูรเป็นนายทหารมหาดเล็กของรัชกาลที่ 6 มาก่อน อาจะเป็นสายลับมาลวงล่อ จึงมาถามคุณประยูรว่าที่คุยกันไว้จะเอาจริงหรือ คุณประยูรก็ยืนยัน เพราะเห็นว่าบ้านเมืองควรจะเปลี่ยนแปลงเป็นระบอบรัฐธรรมนูญเช่นอารยประเทศ และถือเป็นการแบ่งเบาภาระของพระมหากษัตริย์"

ที่มา http://prachatai.org/journal/2014/06/54152

อันที่จริง ผู้เขียนบทความชิ้นนี้ เคยทำวิจัยเกี่ยวกับประวัติศาสตร์การเมืองไทยไว้หลายชิ้น แต่ชิ้นหนึ่งที่ผมอยากแนะนำให้อ่านจริงๆ จะได้รู้ที่มาที่ไปของความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในประเทศนี้

เล่มนี้เลยครับ สายธารประวัติศาสตร์ประชาธิปไตยไทย แล้วท่านจะรู้ว่าอะไรเป็นอะไรในประเทศนี้
https://www.dropbox.com/s/u5869u9bmh4rni9/%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%9B%E0%B9%84%E0%B8%95%E0%B8%A2%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2.pdf

No comments:

Post a Comment