Tuesday, June 17, 2014

ประวัติศาสตร์ของความตาย


ผมทราบข่าวเมื่อ 2 วันก่อนว่า คณบดีคณะวิทยาการจัดการ วุฒิด๊อกเตอร์ที่เพิ่งได้รับตำแหน่งใหม่จากมหาวิทยาลัยบ้านใกล้เรือนเคียงกันกับมหาวิทยาของผมได้สียชีวิตลงอย่างกระทันหันด้วยโรคประจำตัวในวัยเพียง 33 ปีเท่านั้น !! ทำให้นึกถึงหนังสือเล่มนี้ขึ้นมา ผมซื้อมานานแล้ว อ่านจบไปแล้วรอบนึง เลยอยากเอาเนื้อหามาแบ่งปัน ขีดเขียนบันทึกอะไรทิ้งไว้ในบล็อกนี้ เผื่อเป็นประโยชน์กับใครที่ได้อ่าน

"แม้ว่าพวกเราหลายคนหลีกเลี่ยงไม่พูดถึงความตาย แต่ความตายก็เฝ้าอยู่รอบตัวของเราในชีวิตประจำวัน...ปราชญ์นักคิดลึกซึ้งหลายท่านตั้งแต่เคียร์เกอการ์ดมาจนถึงองค์ดาไลลามะ กล่าวถึงการเมินมองความตายนำไปสู่ชีวิตไม่ถึงพร้อม การพิจารณาความตายเป็นนิตย์ เปิดมุมมองใหม่ให้เราได้เห็น ทำให้เรื่องเล็ก...เป็นแต่เพียงเรื่องเล็ก ทุกวันที่เราตื่นลืมตามาดูโลกใหม่เป็นของขวัญล้ำค่าที่เราควรทะนุถนอมไว้ด้วยทุกอย่างที่เรามี กอดใครสักคน ดมดอกไม้ จูบต้นไม้ 
แน่อยู่แล้ว ในเรื่องเรารู้แน่แก่ใจว่าเลี่ยงความตายไปไม่พ้น พินิจพิเคราะห์ด้วยความระมัดระวัง แต่ไม่หมกมุ่นจนไม่เหลือชีวิต ถ้าเราได้แต้มต่อ มีโอกาสเสี่ยงการสุ่มเลือกตายไปโดยบังเอิญ เราจะไม่รับแต้มต่อนั้นหรือ?
แต้มต่อเรื่องหนึ่งที่คุณจะทำให้สุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงอายุยืนยาวคืออ่านหนังสือเล่มนี้"
ผมขอนำเนื้อหาบางเรื่องในหนังสือเล่มนี้มาแปะให้อ่านกันดูนะครับ หลายคนยังพอนึกออกเมื่อปีที่แล้วคู่รักชาวไทยคู่หนึ่งซึ่งเพิ่งแต่งงานกันใหม่ๆ ไปเที่ยวแกรนด์แคนยอน รัฐอริโซน่าของสหรัฐอเมริกา (23 กรกฎาคม 2013) แล้วโดนฟ้าผ่าเสียชีวิตทั้งคู่ ณ จุดชมวิวชื่อ LeFevre Scenic ริมไฮเวย์ 89เอ
http://www.dailynews.co.th/Content/foreign/143734/%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%9F%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%9C%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%AA%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90
หนังสือประวัติศาสตร์ของความตาย พูดถึงเรื่องฟ้าผ่า (Lightning) ไว้ยังไง? 
 Lighting (ฟ้าผ่า)
ฟ้าผ่าคือ การถ่ายประจุไฟฟ้าลบจากฐานเมฆฝนลงมาหาประจุบวกบนพื้นผิวโลก ด้วยความเร็ว (ดุจสายฟ้า) เพียง 30 วินาที โดยปกติแล้วพายุฟ้าคะนองกินเวลาไม่เกิน 30 นาทีมักจะเกิดในฤดูร้อน ในตอนบ่ายและเย็น ฟ้าผ่าอาจเกิดห่างจากจุดฝนตกและฟ้าคะนองถึง 15 ไมล์ เคยมีผู้ถูกฟ้าผ่าแม้ยืนอยู่กลางแดดจ้า คนที่ถูกฟ้าผ่าตายมักจะหาที่หลบใต้ต้นไม้หรือยืนใกล้เสาโทรศัพท์ บางคนใช้มือถือ ร่างเอนพิงเสาโลหะของป้ายสัญญาณ หรือเดินบนแผ่นโลหะ หากอยู่ในสวนสาธารณะจะยืนอยู่บนยอดเนิน หรือกำลังถีบจักรยานโลหะต่อไป นักกอล์ฟถือไม้ตีกอล์ฟ และไม่มีความคิดจะถอดรองเท้าปุ่มโลหะ คนที่รู้สึกว่าเส้นผมชี้ชูชัน ไม่ได้ตระหนักเลยว่าสายฟ้าใกล้จะผ่าลงมาที่ตัวเขา คนไวความรู้สึกจะทิ้งตัวนอนราบ หรือหันไปกอดยางรถยนต์ (หรือยางชนิดอื่นเพื่อถ่ายประจุออกจากตัว) มุดเข้าไปหลบในอาคาร และถอดเครื่องประดับออก จะรอดชีวิตมาได้ ผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้อยู่ในอาคารในช่วงพายุฟ้าคะนอง แม้จะมีความเสี่ยงอยู่บ้างถ้าผู้นั้นใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าหรือล้างจานในอ่างโลหะ ขณะที่ภายนอกฟ้าแลบแปลบปลาบ ฟ้าผ่าจากเมฆสู่พื้นเกิดขึ้น 20 ล้านครั้งแต่ละปีในสหรัฐฯ ผู้เสียชีวิตจากฟ้าผ่า 84% เป็นบุรุษ มักเสียชีวิตในเดือนกรกฎาคม วันอาทิตย์ วันพุธ และวันศุกร์ เวลาระหว่างบ่ายสองถึงหกโมงเย็น

No comments:

Post a Comment