Tuesday, June 30, 2015

กลยุทธ์สร้างความสำเร็จ


ถ้าหากอยากประสบความสำเร็จกับเรื่องใดๆ ก็แล้วแต่ เราจะต้องรู้ว่าอะไรที่เราทำแล้วจะสร้างผลสำเร็จได้อย่างมหาศาลหรือนำไปสู่ผลสำเร็จได้อย่างแท้จริงให้แก่ตัวเรา กฎดังกล่าวนี้รู้จักกันในชื่อ กฎพาเรโต 
กฎนี้สอนให้เรามองหาสิ่งสำคัญที่สุดจริงๆ ซึ่งในทุกเรื่องจะมีสิ่งสำคัญอยู่เพียงราวๆ 20% และหากเลือกจัดการกับสิ่งสำคัญที่ว่านี้โดยกำจัดส่วนที่เหลือ มันจะสร้างความสำเร็จได้อย่างมหาศาลมากถึง 80% ให้แก่เราเลยทีเดียว เรียกได้ว่านี่เป็นเคล็ดลับความสำเร็จของผู้ที่ประสบความสำเร็จทั้งหลาย 
แล้วเราจะมองหา 20% ที่เป็นสิ่งสำคัญได้จากไหน?
ให้ใช้คำถามต่อไปนี้เป็นแนวทางในการเลือกสิ่งสำคัญ
1. เป้าหมายของคุณคืออะไร
2. อะไรที่มีความสำคัญต่อคุณจริงๆ
3. อะไรที่สร้างผลกระทบในทางบวกมากที่สุด
4. อะไรที่สร้างผลกระทบมากที่สุดในระยะยาว
หากว่าเราค้นเจอสิ่งสำคัญที่ว่านั้นแล้ว และสิ่งสำคัญ 20% ที่ว่านั้น เป็นงานช้างหรืองานหิน กลยุทธ์ง่ายๆ ในการสร้างความสำเร็จเพื่อจัดการกับ 20% เพื่อให้ก่อผลมหาศาลแก่เราได้ถึง 80% ก็คือการหั่นงานช้างให้เป็นงานเล็กๆ
เปรียบเหมือนกับการกินเนื้อช้างโดยหั่นเนื้อช้างออกเป็นชิ้นเล็กๆ หรือแผ่นบางๆ แล้วก็กินหรือจัดการไปที่ละนิดๆ กลยุทธ์จัดการงานหินหรืองานยากที่ว่านี้ เรียกกันว่า Sarami Technique (เทคนิคซารามี ดูภาพประกอบด้านล่าง)
 อ่านมาถึงตรงนี้ ผมอยากจะฝากข้อคิดเตือนใจของเซเนกา นักปรัชญายุคโรมันโบราณไว้หน่อยนึงว่า "ไม่ใช่เพราะมันยากเราจึงไม่กล้า แต่เป็นเพราะเราไม่กล้ามันจึงยาก"
อนึ่ง เทคนิคซารามีนี้จะต้องใช้ควบคู่กับการสร้างนิสัยเสมอต้นเสมอปลายในการจัดการงานหิน และนิสัยที่สร้างนี้ก็ไม่ควรจะยากจนเกินไป เป็นนิสัยที่ทำได้ง่ายๆ เราเรียกกันว่า Mini Habits (นิสัยเล็กๆ) เช่น การกำหนดระยะเวลาในการทำงานแทนที่จะทำงานนานต่อเนื่อง 3 ชั่วโมง ก็ให้ทำแค่ 25 นาที แล้วหยุดพัก 5-10 นาที จากนั้นก็ทำต่อ 25 นาที แล้วหยุดพัก เป็นต้น
เมื่อรู้หลักการแล้ว ต่อไปนี้ก็จะเป็นกลยุทธ์สร้างความสำเร็จละครับ
  1. ตัดสินใจอย่างแน่ชัดว่าจะลงมือทำ
     2.  วางแผนสู่เป้าหมายให้ชัดเจน
               3.  ลงมือทำ
     4.  ติดตามผลอย่างต่อเนื่อง
               5.  ให้รางวัลกับตัวเองที่ทำสำเร็จ

ขอให้ประสบความสำเร็จกันนะครับ
             




Thursday, June 25, 2015

อาจารย์รัฐศาสตร์ มธ. VS อาจารย์รัฐศาสตร์ ม.รังสิต

เนื้อหาต่อไปนี้เป็นการโพสต์ของอาจารย์ต่างมหาวิทยาลัย 
ต่างกรรม ต่างวาระ แต่เนื้อหาที่โพสต์สะทอนวิธีคิด และวุฒิภาวะได้อย่างดี
ผมในฐานะนักศึกษา ป.เอก คณะรัฐศาสตร์ มธ. คนหนึ่ง ได้เห็นอะไรๆ เยอะเลย

อาจารย์รัฐศาสตร์ มธ.ท่านหนึ่ง




อาจารย์รัฐศาสตร์ ม.รังสิต ท่านหนึ่ง






Wednesday, June 24, 2015

แท้จริงแล้วคนอินโทรเวิร์ต


ผมเป็นม้าที่เหมาะสำหรับบังเหียนเดี่ยว
แต่ก็ไม่ได้ตัดขาดรถม้า 2 ล้อที่ต้องใช้ม้า 2 ตัวลาก
หรือการทำงานเป็นทีม...
ผมรู้เป็นอย่างดีว่าการจะไปถึงจุดหมายใดก็ตามอย่างชัดเจนนั้น
หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่คนเราจะต้องทั้งคิดและออกคำสั่ง

- อัลเบิร์ต ไอส์สไตน์ -

แท้จริงแล้ว คนอินโทรเวิร์ตมีแนวโน้มจะแสดงข้อเท็จจริงส่วนตัวเกี่ยวกับตัวเองบนอินเตอร์เน็ตมากกว่าคนเอ็กซ์โทรเวิร์ต ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่จะทำให้ครอบครัวและเพื่อนของพวกเขารู้สึกประหลาดใจเมื่อได้อ่าน เพื่อจะบอกว่าพวกเขาสามารถแสดง 'ตัวจริงของฉัน' ออกมาผ่านระบบออนไลน์ ขณะเดียวกันคนอินโทรเวิร์ตจะใช้เวลาในการสนทนาผ่านระบบออนไลน์มากกว่าพวกเอ็กซ์โทรเวิร์ต 
พวกเขาเปิดรับโอกาสในการสื่อสารแบบดิจิตอล คนคนเดียวกันกับที่ไม่เคยยกมือขึ้นถามในห้องเล็กเชอร์ขนาดใหญ่ที่มีคนอยู่ 200 คน ก็อาจจะเขียนบล็อกไปยังคน 2,000 คน หรือ 2 ล้านคน โดยไม่ต้องคิดซ้ำสอง 
คนคนเดียวกันนี้ที่รู้สึกว่าการแนะนำตัวเองกับคนแปลกหน้าเป็นเรื่องยาก ก็อาจจะสร้างการมีอยู่ของตัวเองในโลกออนไลน์ และต่อจากนั้นอาจขยายความสัมพันธ์กับผู้คนไปสู่โลกแห่งความเป็นจริง ก็อาจเป็นได้ 

Tuesday, June 23, 2015

อีก 1 ชิ้นงานวิจัย

งานวิจัยนี้มีระยะเวลา 10 เดือน 
ตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2557 - สิงหาคม พ.ศ. 2558

Monday, June 22, 2015

ตารางนิเทศนักศึกษาฝึกงาน 3/57

ด้วยจำนวนอาจารย์ในหลักสูตรที่ปฏิบัติงานจริง ณ ปัจจุบันซึ่งมีอยู่เพียง 5 คน
รับผิดชอบนักศึกษาทั้ง 4 ชั้นปี 450 คน เฉพาะนักศึกษาชั้นปีที่ 3 หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาการจัดการรัฐกิจและวิสาหกิจซึ่งมีอยู่มากถึง 100 กว่าคนที่ออกฝึกงานเทอม 3/2557
จำต้องแบ่งอาจารย์ที่จะต้องไปนิเทศนักศึกษาในหน่วยงานต่างๆ ให้ได้สัดส่วนและมีความทั่วถึงกัน

ในส่วนของผมเองนั้น
รับผิดชอบนิเทศตามตารางข้างล่างนี้ จึงบันทึกไว้เป็นข้อมูลและการอ้างอิงต่อไป

Sunday, June 14, 2015

ตารางชีวิตวิชาการและการศึกษาระดับ ป.เอก ของข้าพเจ้า

ตารางชีวิตวิชาการและการศึกษาระดับ ป.เอก ของข้าพเจ้า

  • ปี 2553
    • 5 เมษายน 2553 ลาจาก ม.อ. เพื่อศึกษาต่อ ป.เอก คณะรัฐศาสตร์ มธ. ท่าพระจันทร์ กำหนดระยะเวลาการลา 3 ปี 2 เดือน (ตั้งแต่วันที่ 5 เมษายน 2553 - 4 มิถุนายน 2556)
    • ลิงก์ที่เกี่ยวข้อง
    • เรียนเตรียมความพร้อมช่วงซัมเมอร์ (เทอม 3/2552) กับ...
      1. ดร.จุลชีพ ชินวรรโณ
      2. ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์
    • เข้าปี 1 ป.เอก
    • เทอม 1/2553 (14 มิถุนายน - 3 ตุลาคม 2553) ลงทะเบียนเรียน 3 วิชา
      1. ร.810 สัมมนาสาขาวิชาการเมืองเปรียบเทียบ (เกษียร เตชะพีระ)
      2. ร.820 สัมมนาสาขาวิชาการบริหารรัฐกิจและกิจการสาธารณะ (อัมพร ธำรงลักษณ์)
      3. ร.813 สัมมนาการเมืองการปกครองไทย (เสกสรรค์ ประเสริฐกุล)
    • เทอม 2/2553 (8 พฤศจิกายน 2553 - 27 กุมภาพันธ์ 2554) ลงทะเบียนเรียน 3 วิชา
      1. ร.800 สัมมนาสาขาวิชาทฤษฎีและวิธีการหาความรู้ (ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร)
      2. ร.830 สัมมนาสาขาวิชาการระหว่างประเทศ (ประภัสสร์ เทพชาตรี)
      3. ร.831 สัมมนาการวิเคราะห์นโยบายต่างประเทศ (สุรชัย ศิริไกร)
  • ปี 2554
    • ขึ้นปี 2 ป.เอก
    • (ต่อ) เทอม 2/2553 (8 พฤศจิกายน 2553 - 27 กุมภาพันธ์ 2554) ลงทะเบียนเรียน 3 วิชา
  • ปี 2555
    • ขึ้นปี 3 ป.เอก
    • 21, 28 กุมภาพันธ์  และ 6, 13 มีนาคม 2555 สี่สัปดาห์ของการสอบข้อเขียน Comprehensive (ปีการศึกษา 2554)
    • 28 มิถุนายน 2555 รู้ผลสอบข้อเขียน Comprehensive สอบผ่าน 3 สาขาวิชาในครั้งเดียว จาก 4 สาขาวิชาที่สอบ ได้แก่
      1. สาขาวิชาทฤษฎีและวิธีการหาความรู้ (ผ่าน)
      2. สาขาวิชาการระหว่างประเทศ (ผ่าน)
      3. สาขาวิชาการเมืองเปรียบเทียบ (ไม่ผ่าน)
      4. สาขาวิชาการบริหารรัฐกิจและกิจการสาธารณะ (ผ่าน)
    • 6 สิงหาคม 2555 รู้ผลสอบปากเปล่า 
    • 9 สิงหาคม 2555 ลงทะเบียน IS หรือ PO 829 Individual Research and Reading in Public Administration (ร.829 การศึกษาเฉพาะเรื่องและเฉพาะตัวในสาขาวิชาการบริหารรัฐกิจและกิจการสาธารณะ)
  • ปี 2556
    • ขึ้นปี 4 ป.เอก
    • 17 - 18 เมษายน 2556 เข้าโรงพยาบาลผ่าตัดใหญ่ พักฟื้นเดือนเศษ งานดุษฎีนิพนธ์คืบหน้าได้เพียง 30 - 40%
    • 4 มิถุนายน 2556 ครบกำหนด 3 ปี 2 เดือน ของการลาศึกษาต่อ แต่ได้ทำหนังสือถึงมหาวิทยาลัยต้นสังกัดขอเปลี่ยนแปลงระยะเวลาศึกษาต่อเป็น 4 ปี ตามกรอบระยะเวลาของหลักสูตร โดยจะครบกำหนดในวันที่ 4 เมษายน 2557
    • 30 ตุลาคม 2556 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ออกคำสั่งที่ 70455/2556 เรื่อง ยกเลิกและเปลี่ยนแปลงคำสั่งให้พนักงานมหาวิทยาลัยที่ไปศึกษาต่อ โดยอนุมัติให้เปลี่ยนแปลงระยะเวลาศึกษาต่อจากเดิม 3 ปี 2 เดือน เป็น 4 ปี ตามที่ได้ทำบันทึกเสนอขอเปลี่ยนแปลง
    • 14 พฤศจิกายน 2556 สอบข้อเสนอดุษฎีนิพนธ์
27-28 พฤศจิกายน 2556 นำเสนอบทความ เรื่อง
บทวิเคราะห์ประชาธิปไตยในอันตรายฯ งานรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์แห่งชาติ
ครั้งที่ 14 ณ ม.อุบลราชธานี ดูรายละเอียดได้ ที่นี่
  • ปี 2557
    • ขึ้นปี 5 ป.เอก
    • วันที่ 4 มีนาคม 2557 ก่อนครบกำหนด 4 ปีของการลาศึกษาต่อ ได้ทำบันทึกข้อความที่ ม.อ.935.1/670 เรื่อง ขอขยายเวลาการลาศึกษาต่อและขอใช้สิทธิการรับทุนแก่ผู้หมดระยะเวลาการรับทุน ตามประกาศมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เรื่อง หลักเกณฑ์การพัฒนาพนักงานมหาวิทยาลัย ลว 13 มีนาคม 2552 ข้อที่ 8 วงเล็บ 1 ระบุว่า ให้ขยายเวลาศึกษาครั้งละไม่เกิน 6 เดือน โดยได้รับค่าจ้างใน 6 เดือนแรกของการขยายเวลา ทั้งนี้ จะหมดระยะของการขยายเวลาในวันที่ 4 ตุลาคม 2557 (รวมระยะเวลาศึกษาทั้งสิ้น 4 ปี 6 เดือน) 
    • 23 พฤษภาคม 2557 นำเสนอบทความ การนำนโยบายหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานไปปฏิบัติฯ งานการประชุมวิชาการบัณฑิตศึกษาระดับชาติ ครั้งที่ 4 ณ โรงแรมริชมอนด์ จังหวัดนนทบุรี ดูรายละเอียดได้ ที่นี่
    • มิถุนายน - กรกฎาคม 2557 ลงพื้นที่สัมภาษณ์เก็บข้อมูลงานวิจัย ป.เอก
    • ศุกร์ที่ 3 ตุลาคม 2557 ทำหนังสือรายงานตัวกลับเข้าทำงานคณะต้นสังกัด คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี มีผลในวันที่ 7 ตุลาคม 2557
    • 23 ธันวาคม 2557 ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง หัวหน้าสาขาวิชารัฐประศานศาสตร์ รับผิดชอบนักศึกษา 4 ชั้นปี 450 คน อาจารย์ในหลักสูตรทั้งหมด 5 คน (รวมตัวเองด้วย)

    • ภาระงานหลัก ปรับปรุงหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการรัฐกิจและวิสาหกิจ พ.ศ. 2553 ซึ่งใช้มาครบ 5 ปี เป็น "หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการรัฐกิจ พ.ศ. 2559 หลักสูตรปรับปรุงใหม่" ดูรายละเอียดหลักสูตรได้ ที่นี่
  • ปี 2558
    • ขึ้นปี 6 ป.เอก
    • 12 มกรามคม 2558 เปิดเทอม 2/2557 วันแรก รับผิดชอบสอน 3 วิชา 5 Section คิดเป็น 200 ชั่วโมง/ภาคการศึกษา หรือ 13 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
    • 22 พฤษภาคม 2558 ส่งเกรดเทอม 2/2557
    • 22 - 26 มิถุนายน 2558 ออกนิเทศนักศึกษาฝึกงาน รับผิดชอบนักศึกษา 26 คน (14 หน่วยงานในจังหวัดสุราษฎร์ธานี) ดูรายละเอียดที่นี่
    • 24 มิถุนายน 2558 ส่งงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง ธรรมาภิบาลเพื่อการจัดการและการพัฒนาวิสาหกิจชุมชน เป็นงานวิจัยร่วมกับอาจารย์สุดเฉลิม ศัสตราพฤกษ์ ดูทีนี่
    • 15 กรกฎาคม 2558 ยื่นขอตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ผ่านทางคณะฯ ต้นสังกัด
    • 18 กรกฎาคม 2558 กำหนดส่งงานดุษฎีนิพนธ์ดร๊าฟแรก จำนวน 6 บทให้อาจารย์ที่ปรึกษา

  • ปฏิทินปีการศึกษา 2558 (3 สิงหาคม 2558 - 31 กรกฎาคม 2559)






Saturday, June 6, 2015

5 ขั้นการทำงานที่สำคัญให้แล้วเสร็จ

การฝึกอุปนิสัยทำงานที่สำคัญที่สุดก่อนนั้น ใช่ว่าจะเป็นเรื่องที่ยากจนเกินไป
สามารถทำตาม 5 ขั้นตอน ต่อไปนี้หากฝึกฝนอยู่เรื่อยๆ


1) จบวันแต่ละวันของคุณด้วยการระบุงานสำคัญ 3 อย่างสำหรับทำในวันต่อไป
2) จัดลำดับความสำคัญของรายการในนั้น เอางานที่สำคัญที่สุดไว้ข้างบนสุด
3) ตื่นนอนและเริ่มทำงานที่ 1 ทันทีจนกว่าจะเสร็จ
4) ทำต่อไปด้วยการทำงานที่ 2 และงานที่ 3 ให้เสร็จสมบูรณ์
5) ใช้เวลาที่เหลือของวันจดจ่ออยู่กับงานที่สำคัญน้อยกว่า แต่ก็ยังสำคัญอยู่


Tuesday, June 2, 2015

ถามคำถาม 80/20


  • อะไรคือ 20% ที่ทำให้เกิดปัญหาและการไร้ความสุขของฉันถึง 80%
  • อะไรคือ 20% ที่ส่งผลต่อผลลัพธ์และความสุขที่ฉันต้องการถึง 80%
  • กิจกรรม 3 อย่างแรกที่ฉันใช้เวลาทำเพื่อจะได้รู้สึกเหมือนว่าได้งานจริงๆ คืออะไร
  • ใครคือคนจำนวน 20% ที่ทำให้ฉันสนุกได้ถึง 80% และผลักดันฉันไปข้างหน้า และอะไรคือ 20% ที่เป็นสาเหตุของความหดหู่ ความโกรธ และความลังเลของฉันถึง 80% 


     โปรดถามคำถามเหล่านี้กับตัวเองทุกๆ วัน หรืออย่างน้อยเดือนละครั้ง

หลักสูตร รปศ. ม.อ.สุราษฎร์ธานี 59