ในสายตาของชนชั้นนำ (Elites)
คนไทยส่วนใหญ่นั้น หลอกง่ายมาก
แค่เปิดเพลงให้ฟังทุกเช้า-เย็น
เอาหนังจักรๆ วงศ์ๆ ให้ดูทุกเช้าวันเสาร์-อาทิตย์
จัดงานต่างๆ ในวันสำคัญๆ
ให้ทุนสนับสนุนหนังฟอร์มยักษ์
เชิญชวนดารามาร้องเพลงและให้สัมภาษณ์
จัดสร้างสิ่งมหัศจรรย์ของโลก
ตั้งชื่อสถานที่สำคัญ ชื่อตึก ชื่อถนน ชื่อสะพาน ฯลฯ
ทุกวี่วันให้ได้ยินได้ฟังแต่เรื่องพวกเขา
สร้าง 'ความจริง' จาก 'ความรัก/ความเชื่อ/ความศรัทธา'
ไม่ต่างจากการสร้างฉากของ 'การแต่งงงาน'
ทุกคนจะรู้ว่า เมื่อยู่ในงานแต่งงาน
พวกเขาจะต้องแต่งชุดแบบไหน
พูดจากและแสดงความรู้สึกอย่างไร
เหล่านี้คือ 'ความจริงที่ถูกสร้างขึ้น'
ฝรั่งเรียกว่า 'Social Construction of Reality'
งาน 'แต่งงาน' จึงถูกสร้างขึ้นไม่ต่างอะไรกับ
'งานศพ' 'งานบวช' 'งานขึ้นบ้านใหม่' 'งานประเพณี'
*ความรัก/ความเชื่อ/ความศรัทธาที่มีต่อชนชั้นนำ*
ก็เช่นกัน
Tuesday, December 8, 2015
Monday, December 7, 2015
Active Learning
เรื่องที่ผมจะเล่าต่อไปนี้ เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับคำว่า "Active Learning" และการจัดการเรียนการสอนของผม เป็นประสบการณ์ในฐานะอาจารย์ผู้สอนคนหนึ่งที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี ในภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2558 (10 สิงหาคม 2558 - 4 ธันวาคม 2558)
ผมขอเล่าเป็นข้อๆ ดังนี้
Source: http://plpnetwork.com/2015/03/10/shift-active-learning-technology-answer/
เขียนเล่าเพียงเท่านี้ก่อนครับ ไว้ค่อยมาต่อในโอกาสต่อไป
- จัดทำปฏิบัติการเรียน 15 สัปดาห์ (45 ชั่วโมง) ระบุสัปดาห์ของการจัดการเรียนการสอนให้ชัดเจนว่าตรงกันวัน/เดือน/ปีอะไร จนครบ 15 สัปดาห์
- กำหนดไว้แต่แรกเลยว่าจะแบ่งกลุ่มนักศึกษาออกเป็น 26 กลุ่ม กลุ่มละประมาณ 4-5 คน พร้อมกำหนดชื่อกลุ่มไว้เสร็จสรรพ เช่น ชื่อกลุ่มตามชื่ออำเภอ เป็นต้น
- กำหนดหัวข้อในการจัดการเรียนการสอนไว้ล่วงหน้าประมาณ 26 หัวข้อ ให้เท่ากับชื่อกลุ่ม
- กำหนดโครงสร้างคะแนน เช่น คะแนนสอบกลางภาค คะแนนสอบปลายภาค คะแนนระหว่างภาค คะแนนงานรายบุคคล คะแนนงานกลุ่ม คะแนนการนำเสนอ ฯลฯ
- เมื่อเปิดภาคเรียนในสัปดาห์แรก ผมให้นักศึกษาจับกลุ่ม และจับฉลากเลือกหัวข้อและชื่อกลุ่ม พร้อมมอบหมายให้แต่ละกลุ่ม ถ่ายรูปมา 1 ภาพ โดยในภาพให้มีชื่อเล่น เลขรหัสนักศึกษา ชื่อกลุ่ม ผู้ประสานงานกลุ่มและเลขานุการกลุ่ม พร้อมเบอร์ติดต่อ เลขชื่อกลุ่ม กำหนดส่งให้ผมทาง Inbox ในเฟส ตามวันเวลาที่กำหนด
- ผมนำภาพสมาชิกทั้ง 26 กลุ่ม มาทำเป็นพ้อย อยู่ในไฟล์เดียวกัน และแต่ละครั้งที่ผมเข้าสอนและจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ผมจะขึ้นพ้อยภาพของสมาชิกทุกกลุ่ม ด้วยวิธีการดังกล่าว ทำให้ผมสามารถดำเนินกิจกรรมกับนักศึกษาเป็นจำนวนมากๆ ได้ อย่างในชั้นเรียนของผมมีนักศึกษาไม่ต่ำกว่า 120 คน ทำให้ผมรู้จักทุกกลุ่ม และจำหน้าสมาชิกแต่ละกลุ่มได้เกือบทุกคน
- ในการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ของผมจะมีการมอบหมายงานเดี่ยว และงานกลุ่มทุกสัปดาห์ และให้มาส่งในสัปดาห์ถัดไป ส่วนการ Active Learning ในชั้นเรียนจะเป็นงานที่แต่ละกลุ่มจะต้องออกมานำเสนอในหัวข้อที่กลุ่มตนเองจับฉลากได้
- ในชั้นเรียนบางสัปดาห์ก็จะมีใบงานให้แต่ละกลุ่มระดมสมอง ช่วยกันแก้โจทย์ ออกมาอภิปราย ถาม/ตอบ ระหว่างอาจารย์กับนักศึกษา และระหว่างนักศึกษาด้วยกัน
- ในชั้นเรียนมักจะมีการเปิดคลิปวีดิโอที่เกี่ยวข้องกับการเรียนทั้งแบบคลิปสั้นๆ และคลิปยาวๆ แล้วให้แต่ละกลุ่มช่วยกันสรุปสาระสำคัญ
- ในช่วงสัปดาห์ท้ายๆ ของภาคการศึกษาผมจะมีกิจกรรมสอบสัมภาษณ์/สอบปากเปล่า แต่ละกลุ่ม เพื่อตรวจสอบความคิด ความรู้ ความเข้าใจของนักศึกษาว่าที่เรียนมาตลอดภาคการศึกษานั้น นักศึกษาเกิดความรู้ ตกผลึกจริงหรือไม่ อย่างไร
- ในการเข้าชั้นเรียน ผมจะมีการเช็คชื่อนักศึกษาทุกครั้ง เพื่อฝึกความมีวินัย ตรวจดูลายเซ็น ใบเช็คชื่อในแต่ละสัปดาห์ผมจะนำไปสแกนเก็บเป็นฐานข้อมูลเพื่อตรวจสอบและให้คะแนนในภายหลัง
- ในการแจ้งผลคะแนนกลางภาค ผมจะแจกคะแนนนักศึกษาเป็นสลิปและแจกเป็นรายบุคคล จะไม่ติดประกาศที่บอร์ด นักศึกษาแต่ละคนจะรู้เฉพาะคะแนนของตัวเอง และผมจะทำกราฟ ฉายขึ้นจอ เพื่อให้นักศึกษาทุกคนได้เห็นค่าเฉลี่ยของคะแนน และกราฟเส้นโค้งแสดงการกระจายตัวของคะแนน นักศึกษาแต่ละคนจะรู้ว่าตนเองอยู่สูงหรือต่ำกว่าค่าเฉลี่ย
Subscribe to:
Posts (Atom)