ในวันที่ 26 ตุลาคม 2514 สมัชชาใหญ่ สหประชาชาติได้ลงมติให้สาธารณรัฐประชาชนจีนเข้าเป็นสมาชิกสหประชาชาติและเป็นสมาชิกคณะมนตรีความมั่นคงแทนที่ไต้หวัน ด้วยคะแนนเสียง 76 ต่อ 35 งดออกเสียง 37 โดยไทยอยู่ในฝ่ายที่งดออกเสียง และต่อมาประธานาธิบดีนิกสันแห่งสหรัฐฯ ก็เดินทางไปเยือนจีนในเดือนกุมภาพันธ์ 2515
Thursday, September 24, 2015
ยอมรับจีนแทนที่ไต้หวัน
Monday, September 21, 2015
ประชาธิปไตยของนางอองซาน
"In each country, the democratic system will develop a character that accords with its social, cultural and economic needs. But the basic requirement of a genuine democracy is that people should be sufficiently empowered to be able to participate significantly in the governance of their country."
- Aung San Suu Kyi, July 1995 -
"ในแต่ละประเทศ ระบบประชาธิปไตยจะพัฒนาลักษณะของตนเองซึ่งจะสอดคล้องกับลักษณะทางสังคม วัฒนธรรม และความจำเป็นทางเศรษฐกิจของประเทศนั้นๆ แต่เงื่อนไขขั้นพื้นฐานของการเกิดประชาธิปไตยที่แท้จริงอยู่ตรงที่ประชาชนในประเทศได้รับการเสริมอำนาจของตนเองอย่างเพียงพอเพื่อให้เขาสามารถเข้ามามีส่วนร่วมอย่างมีนัยสำคัญในการบริหารปกครองของประเทศตนเอง"
- นางอองซาน ซูจี, กรกฎาคม 1995 -
Saturday, September 19, 2015
Wednesday, September 9, 2015
มักซ์ เวเบอร์ (Max Weber)
มักซ์ เวเบอร์ (Max Weber, 21 เมษายน 1864- 14 มิถุนายน
1920) นักสังคมวิทยาชาวเยอรมัน
ผู้ให้นิยามคำว่าสังคมวิทยาไว้อย่างน่ารับฟังว่า “ศาสตร์ที่ประสงค์จะบรรลุถึงความเข้าใจที่เกิดจากการตีความ
(Verstehen) เกี่ยวกับพฤติกรรมทางสังคม
เพื่อให้ได้มาซึ่งคำอธิบายถึงสาเหตุ แนวทาง และผลลัพธ์ของพฤติกรรมนั้นๆ” ครั้งหนึ่งเมื่อเวเบอร์ถูกถามว่าเหตุใดจึงทำการศึกษาหลากหลายด้านอย่างลึกซึ้ง
เขาตอบว่า “ผมอยากรู้ว่า ผมจะศึกษาได้มากเพียงใด”
มักซ์ เวเบอร์ เป็นบุตรคนโตในจำนวน 7 คนของมักซ์และเฮลีน เวเบอร์ บิดาและมารดาของเขาสืบสกุลมาจากพวกโปรเตสแตนต์
มักซ์ เวเบอร์เป็นเด็กฉลาดเกินอายุ แต่ขี้โรค ขี้อายและเก็บตัว
ครูของเขาบ่นว่าเขาไม่มีความเคารพต่ออำนาจของครูและไม่มีวินัย แต่มักซ์
เวเบอร์เป็นนักอ่านตัวยง เมื่ออายุ 14 ปี
เขาเขียนจดหมายหลายฉบับซึ่งมีการอ้างถึงโฮเมอร์ (Homer) เวอร์จิล
(Virgil) ซิเซโร (Cicero) และลิวี (Livy) นอกจากนี้ เขายังมีความรู้กว้างขวางเกี่ยวกับเกอเต้ (Goethe) สปิโนซา (Spinoza) คานต์ (Kant) และโชเปนเฮาเออร์ (Schopenhauer)
ก่อนที่เขาจะเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยอีกด้วย
เวเบอร์สอบป้องกันวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกในปี
ค.ศ. 1889 เรื่องประวัติศาสตร์การค้าในสังคมยุคกลาง (History
of Commercial Societies in the Middle Ages) มักซ์
เวเบอร์มีความเครียดในจิตใจที่สำคัญเรื่องหนึ่งก็คือความเครียดภายในจิตใจของเวเบอร์ซึ่งเกิดขึ้นจากความสัมพันธ์ที่ยุ่งเหยิงที่เขามีกับบิดามารดา
อนาคตที่ดูจะก้าวหน้าของเขากลับสิ้นสุดลงอย่างกระทันหันเมื่อบิดามารดามาเยี่ยมเขาที่ไฮเดลเบอร์กในเดือนกรกฎาคม
ค.ศ. 1897 บิดาของเขายืนยันที่จะมาเป็นเพื่อนภรรยาผู้ซึ่งคงต้องการมาอยู่กับบุตรชายเป็นเวลาสองสามสัปดาห์โดยไม่มีสามีมาด้วยมากกว่า
ปรากฏว่าบิดากับบุตรขัดแย้งกันอย่างรุนแรง
โดยที่เวเบอร์กล่าวหาบิดาว่าปฏิบัติต่อมารดาอย่างกดขี่และทารุณ
และออกปากไล่บิดาออกจากบ้านในที่สุดบิดาของเขาเสียชีวิตในอีกประมาณหนึ่งเดือนต่อมา
ทำให้มักซ์ เวเบอร์มีอาการป่วยทางประสาทอย่างรุนแรงและไม่ทุเลาลงเลยเป็นเวลากว่า 5
ปี
Saturday, September 5, 2015
Subscribe to:
Posts (Atom)