Tuesday, December 8, 2015

คนไทยส่วนใหญ่นั้น หลอกง่ายมาก

ในสายตาของชนชั้นนำ (Elites)
คนไทยส่วนใหญ่นั้น หลอกง่ายมาก
แค่เปิดเพลงให้ฟังทุกเช้า-เย็น
เอาหนังจักรๆ วงศ์ๆ ให้ดูทุกเช้าวันเสาร์-อาทิตย์
จัดงานต่างๆ ในวันสำคัญๆ
ให้ทุนสนับสนุนหนังฟอร์มยักษ์
เชิญชวนดารามาร้องเพลงและให้สัมภาษณ์
จัดสร้างสิ่งมหัศจรรย์ของโลก
ตั้งชื่อสถานที่สำคัญ ชื่อตึก ชื่อถนน ชื่อสะพาน ฯลฯ
ทุกวี่วันให้ได้ยินได้ฟังแต่เรื่องพวกเขา
สร้าง 'ความจริง' จาก 'ความรัก/ความเชื่อ/ความศรัทธา'
ไม่ต่างจากการสร้างฉากของ 'การแต่งงงาน'
ทุกคนจะรู้ว่า เมื่อยู่ในงานแต่งงาน
พวกเขาจะต้องแต่งชุดแบบไหน
พูดจากและแสดงความรู้สึกอย่างไร
เหล่านี้คือ 'ความจริงที่ถูกสร้างขึ้น'
ฝรั่งเรียกว่า 'Social Construction of Reality'
งาน 'แต่งงาน' จึงถูกสร้างขึ้นไม่ต่างอะไรกับ
'งานศพ' 'งานบวช' 'งานขึ้นบ้านใหม่' 'งานประเพณี'
*ความรัก/ความเชื่อ/ความศรัทธาที่มีต่อชนชั้นนำ*
ก็เช่นกัน

Monday, December 7, 2015

Active Learning

เรื่องที่ผมจะเล่าต่อไปนี้ เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับคำว่า "Active Learning" และการจัดการเรียนการสอนของผม เป็นประสบการณ์ในฐานะอาจารย์ผู้สอนคนหนึ่งที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี ในภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2558 (10 สิงหาคม 2558 - 4 ธันวาคม 2558) 
ผมขอเล่าเป็นข้อๆ ดังนี้
Source: http://plpnetwork.com/2015/03/10/shift-active-learning-technology-answer/

  1.  จัดทำปฏิบัติการเรียน 15 สัปดาห์ (45 ชั่วโมง) ระบุสัปดาห์ของการจัดการเรียนการสอนให้ชัดเจนว่าตรงกันวัน/เดือน/ปีอะไร จนครบ 15 สัปดาห์
  2. กำหนดไว้แต่แรกเลยว่าจะแบ่งกลุ่มนักศึกษาออกเป็น 26 กลุ่ม กลุ่มละประมาณ 4-5 คน พร้อมกำหนดชื่อกลุ่มไว้เสร็จสรรพ เช่น ชื่อกลุ่มตามชื่ออำเภอ เป็นต้น
  3. กำหนดหัวข้อในการจัดการเรียนการสอนไว้ล่วงหน้าประมาณ 26 หัวข้อ ให้เท่ากับชื่อกลุ่ม
  4. กำหนดโครงสร้างคะแนน เช่น คะแนนสอบกลางภาค คะแนนสอบปลายภาค คะแนนระหว่างภาค คะแนนงานรายบุคคล คะแนนงานกลุ่ม คะแนนการนำเสนอ ฯลฯ
  5.  เมื่อเปิดภาคเรียนในสัปดาห์แรก ผมให้นักศึกษาจับกลุ่ม และจับฉลากเลือกหัวข้อและชื่อกลุ่ม พร้อมมอบหมายให้แต่ละกลุ่ม ถ่ายรูปมา 1 ภาพ โดยในภาพให้มีชื่อเล่น เลขรหัสนักศึกษา ชื่อกลุ่ม ผู้ประสานงานกลุ่มและเลขานุการกลุ่ม พร้อมเบอร์ติดต่อ เลขชื่อกลุ่ม กำหนดส่งให้ผมทาง Inbox ในเฟส ตามวันเวลาที่กำหนด 
  6. ผมนำภาพสมาชิกทั้ง 26 กลุ่ม มาทำเป็นพ้อย อยู่ในไฟล์เดียวกัน และแต่ละครั้งที่ผมเข้าสอนและจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ผมจะขึ้นพ้อยภาพของสมาชิกทุกกลุ่ม ด้วยวิธีการดังกล่าว ทำให้ผมสามารถดำเนินกิจกรรมกับนักศึกษาเป็นจำนวนมากๆ ได้ อย่างในชั้นเรียนของผมมีนักศึกษาไม่ต่ำกว่า 120 คน ทำให้ผมรู้จักทุกกลุ่ม และจำหน้าสมาชิกแต่ละกลุ่มได้เกือบทุกคน
  7.  ในการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ของผมจะมีการมอบหมายงานเดี่ยว และงานกลุ่มทุกสัปดาห์ และให้มาส่งในสัปดาห์ถัดไป ส่วนการ Active Learning ในชั้นเรียนจะเป็นงานที่แต่ละกลุ่มจะต้องออกมานำเสนอในหัวข้อที่กลุ่มตนเองจับฉลากได้
  8. ในชั้นเรียนบางสัปดาห์ก็จะมีใบงานให้แต่ละกลุ่มระดมสมอง ช่วยกันแก้โจทย์ ออกมาอภิปราย ถาม/ตอบ ระหว่างอาจารย์กับนักศึกษา และระหว่างนักศึกษาด้วยกัน
  9.  ในชั้นเรียนมักจะมีการเปิดคลิปวีดิโอที่เกี่ยวข้องกับการเรียนทั้งแบบคลิปสั้นๆ และคลิปยาวๆ แล้วให้แต่ละกลุ่มช่วยกันสรุปสาระสำคัญ
  10. ในช่วงสัปดาห์ท้ายๆ ของภาคการศึกษาผมจะมีกิจกรรมสอบสัมภาษณ์/สอบปากเปล่า แต่ละกลุ่ม เพื่อตรวจสอบความคิด ความรู้ ความเข้าใจของนักศึกษาว่าที่เรียนมาตลอดภาคการศึกษานั้น นักศึกษาเกิดความรู้ ตกผลึกจริงหรือไม่ อย่างไร
  11. ในการเข้าชั้นเรียน ผมจะมีการเช็คชื่อนักศึกษาทุกครั้ง เพื่อฝึกความมีวินัย ตรวจดูลายเซ็น ใบเช็คชื่อในแต่ละสัปดาห์ผมจะนำไปสแกนเก็บเป็นฐานข้อมูลเพื่อตรวจสอบและให้คะแนนในภายหลัง
  12.  ในการแจ้งผลคะแนนกลางภาค ผมจะแจกคะแนนนักศึกษาเป็นสลิปและแจกเป็นรายบุคคล จะไม่ติดประกาศที่บอร์ด นักศึกษาแต่ละคนจะรู้เฉพาะคะแนนของตัวเอง และผมจะทำกราฟ ฉายขึ้นจอ เพื่อให้นักศึกษาทุกคนได้เห็นค่าเฉลี่ยของคะแนน และกราฟเส้นโค้งแสดงการกระจายตัวของคะแนน นักศึกษาแต่ละคนจะรู้ว่าตนเองอยู่สูงหรือต่ำกว่าค่าเฉลี่ย
เขียนเล่าเพียงเท่านี้ก่อนครับ ไว้ค่อยมาต่อในโอกาสต่อไป

Thursday, September 24, 2015

ยอมรับจีนแทนที่ไต้หวัน

ในวันที่ 26 ตุลาคม 2514 สมัชชาใหญ่ สหประชาชาติได้ลงมติให้สาธารณรัฐประชาชนจีนเข้าเป็นสมาชิกสหประชาชาติและเป็นสมาชิกคณะมนตรีความมั่นคงแทนที่ไต้หวัน ด้วยคะแนนเสียง 76 ต่อ 35 งดออกเสียง 37 โดยไทยอยู่ในฝ่ายที่งดออกเสียง และต่อมาประธานาธิบดีนิกสันแห่งสหรัฐฯ ก็เดินทางไปเยือนจีนในเดือนกุมภาพันธ์ 2515

Monday, September 21, 2015

ประชาธิปไตยของนางอองซาน

"In each country, the democratic system will develop a character that accords with its social, cultural and economic needs. But the basic requirement of a genuine democracy is that people should be sufficiently empowered to be able to participate significantly in the governance of their country."
- Aung San Suu Kyi, July 1995 -

"ในแต่ละประเทศ ระบบประชาธิปไตยจะพัฒนาลักษณะของตนเองซึ่งจะสอดคล้องกับลักษณะทางสังคม วัฒนธรรม และความจำเป็นทางเศรษฐกิจของประเทศนั้นๆ แต่เงื่อนไขขั้นพื้นฐานของการเกิดประชาธิปไตยที่แท้จริงอยู่ตรงที่ประชาชนในประเทศได้รับการเสริมอำนาจของตนเองอย่างเพียงพอเพื่อให้เขาสามารถเข้ามามีส่วนร่วมอย่างมีนัยสำคัญในการบริหารปกครองของประเทศตนเอง"
- นางอองซาน ซูจี, กรกฎาคม 1995 -

Wednesday, September 9, 2015

มักซ์ เวเบอร์ (Max Weber)


             มักซ์ เวเบอร์ (Max Weber, 21 เมษายน 1864- 14 มิถุนายน 1920) นักสังคมวิทยาชาวเยอรมัน ผู้ให้นิยามคำว่าสังคมวิทยาไว้อย่างน่ารับฟังว่า ศาสตร์ที่ประสงค์จะบรรลุถึงความเข้าใจที่เกิดจากการตีความ (Verstehen) เกี่ยวกับพฤติกรรมทางสังคม เพื่อให้ได้มาซึ่งคำอธิบายถึงสาเหตุ แนวทาง และผลลัพธ์ของพฤติกรรมนั้นๆครั้งหนึ่งเมื่อเวเบอร์ถูกถามว่าเหตุใดจึงทำการศึกษาหลากหลายด้านอย่างลึกซึ้ง เขาตอบว่า ผมอยากรู้ว่า ผมจะศึกษาได้มากเพียงใด
            มักซ์ เวเบอร์ เป็นบุตรคนโตในจำนวน 7 คนของมักซ์และเฮลีน เวเบอร์ บิดาและมารดาของเขาสืบสกุลมาจากพวกโปรเตสแตนต์ มักซ์ เวเบอร์เป็นเด็กฉลาดเกินอายุ แต่ขี้โรค ขี้อายและเก็บตัว ครูของเขาบ่นว่าเขาไม่มีความเคารพต่ออำนาจของครูและไม่มีวินัย แต่มักซ์ เวเบอร์เป็นนักอ่านตัวยง เมื่ออายุ 14 ปี เขาเขียนจดหมายหลายฉบับซึ่งมีการอ้างถึงโฮเมอร์ (Homer) เวอร์จิล (Virgil) ซิเซโร (Cicero) และลิวี (Livy) นอกจากนี้ เขายังมีความรู้กว้างขวางเกี่ยวกับเกอเต้ (Goethe) สปิโนซา (Spinoza) คานต์ (Kant) และโชเปนเฮาเออร์ (Schopenhauer) ก่อนที่เขาจะเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยอีกด้วย
            เวเบอร์สอบป้องกันวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกในปี ค.ศ. 1889 เรื่องประวัติศาสตร์การค้าในสังคมยุคกลาง (History of Commercial Societies in the Middle Ages) มักซ์ เวเบอร์มีความเครียดในจิตใจที่สำคัญเรื่องหนึ่งก็คือความเครียดภายในจิตใจของเวเบอร์ซึ่งเกิดขึ้นจากความสัมพันธ์ที่ยุ่งเหยิงที่เขามีกับบิดามารดา อนาคตที่ดูจะก้าวหน้าของเขากลับสิ้นสุดลงอย่างกระทันหันเมื่อบิดามารดามาเยี่ยมเขาที่ไฮเดลเบอร์กในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1897 บิดาของเขายืนยันที่จะมาเป็นเพื่อนภรรยาผู้ซึ่งคงต้องการมาอยู่กับบุตรชายเป็นเวลาสองสามสัปดาห์โดยไม่มีสามีมาด้วยมากกว่า ปรากฏว่าบิดากับบุตรขัดแย้งกันอย่างรุนแรง โดยที่เวเบอร์กล่าวหาบิดาว่าปฏิบัติต่อมารดาอย่างกดขี่และทารุณ และออกปากไล่บิดาออกจากบ้านในที่สุดบิดาของเขาเสียชีวิตในอีกประมาณหนึ่งเดือนต่อมา ทำให้มักซ์ เวเบอร์มีอาการป่วยทางประสาทอย่างรุนแรงและไม่ทุเลาลงเลยเป็นเวลากว่า 5 ปี

Tuesday, August 18, 2015

ผู้มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์ ป.เอก คณะรัฐศาสตร์ มธ. ปี 53

เมื่อ 5 ปีที่แล้ว ผมคือ 1 ใน 6 ของผู้มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์เข้าศึกษาต่อระดับปริญญาเอก ณ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เผอิญค้นเจอเอกสารนี้โดยบังเอิญ ก็เลยเอามาโพสต์ทิ้งไว้งั้นๆ แหละ




ตารางสอนเทอม 1/58

ตารางสอนภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2558 ของข้าพเจ้า




Thursday, July 30, 2015

ชีวิตควรมีแผนสำรองเสมอ

ชีวิตควรมีแผนสำรองไว้รับมือกับเหตุที่ไม่คาดฝันเอาไว้บ้างก็ดี
ไม่ว่าเราจะทำอะไร ควรจะต้องมีคำถามในใจไว้เสมอว่า "อะไรจะเกิดขึ้นถ้า..." 
หากไม่ฝึกหัดตัวเองในเรื่องนี้เอาไว้บ้างก็จะกลายเป็นคนพื้นๆ ดาดๆ ขาดคุณสมบัติไปในที่สุด
อย่าได้คิดเองเออเองเป็นเด็ดขาดว่า ทุกสิ่งทุกอย่างจะถูกต้องเที่ยงตรงอยู่ตลอดเวลา เพราะมันไม่เป็นเช่นนั้นเสมอไป หรืออย่าได้คิดว่าคุณจะผลิตผลงานออกมาได้ดีตลอด
คุณกำลังคิดผิด
และอย่าได้สรุปเองว่าเทคโนโลยีจะใช้งานได้ดี ไม่มีวันผิดพลาด เพราะไม่เป็นเช่นนั้นเสมอไป
อย่าได้ทึกทักไปเองว่าคุณมีเวลาเหลือเฟือ เพราะเมื่อเอาเข้าจริงแล้ว คุณจะมีเวลาไม่พอ
อย่าได้ปักใจเชื่อว่าทีมงานจะมาทันเวลา เพราะไม่แน่เสมอไป
อย่าได้หลงคิดว่าคุณความจำดี จะไม่มีวันหลงลืมสักกระผีก เพราะคุณจะลืมแน่ๆ
อย่าได้ปักใจเชื่อว่าแผน A จะได้ผล เพราะของมันพลาดกันได้
แล้วก็อย่าได้หลงเชื่อว่าแผน B จะได้ผลกับเขาด้วย เพราะวันดีคืนดีก็พลาดกับเขาได้เหมือนกัน
อะไรก็ไม่แน่ไม่นอน แผนสำรองจึงเป็นเรื่องจำเป็น 
 
 
 
 
 
 
 
 

Monday, July 27, 2015

เป้าหมายที่ชัดเจน

เคยได้ยินคำกล่าวต่อไปนี้ไหมครับ
"คุณไม่สามารถบรรลุเป้าหมายที่มองไม่เห็น" 
และคำกล่าวที่ตามมาอีกประโยคก็คือ
"ถ้าคุณไม่รู้ว่ากำลังจะไปไหน เส้นทางสายใดกันเล่าที่จะนำพาคุณไปยังที่แห่งนั้น" 

เป้าหมายที่ชัดเจน เฉพาะเจาะจง เป็นลายลักษณ์อักษร และมีกำหนดเวลา ถือว่ามีความสำคัญอย่างแท้จริงต่อการสร้างสภาพแวดล้อมที่คนเราจะชนะหรือรู้สึกเหมือนเป็นผู้ชนะ
กฎ 10/90 ของการตั้งเป้าหมายช่วยเราได้ในเรื่องนี้ กล่าวคือ
เวลา 10 เปอร์เซ็นต์ที่เราใช้ไปในช่วงแรกเพื่อสร้างความชัดเจนว่าจะต้องทำอะไร จะทำให้เราประหยัดเวลาไปได้ 90 เปอร์เซ็นต์ทันทีที่เราเริ่มลงมือทำ
ยิ่งไปกว่านั้น
มันยังสามารถป้องกันเราจากความผิดพลาด ความสิ้นเปลือง และการสูญเสียเวลาของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้ถึง 90 เปอร์เซ็นเลยทีเดียว

 
 
 
 
 
 

โลกเก่าๆ ของอาจารย์ทันสมัย

ผมเขียนบล็อคนี้ก็เพื่อที่จะบอกว่า ยังมีโลกเก่าๆ ของอาจารย์มหาวิทยาลัยจำนวนมากที่ก้าวไม่ทันกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีการสื่อสาร
โลกเก่าๆ ของอาจารย์เหล่านี้ หมายความว่า อาจารย์เหล่านี้เป็นผู้ที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย มีสมาร์ทโฟน ใช้แอฟทันสมัยต่างๆ มีไลน์ มีเฟสบุ๊ค เช็คข่าวข้อมูลที่ทันสมัยอยู่ตลอดเวลาแบบเรียลทาม
แต่ครั้น เมื่อนักศึกษาในที่ปรึกษาจัดส่งไฟล์งานรวมทุกบทเป็น PDF คณาจารย์มหาวิทยาลัยที่อยู่ในโลกเก่าๆ เหล่านั้น กลับต้องการอ่านไฟล์งาน PDF ในรูปของเล่มรายงานที่จะต้องพริ้นออกมา เข้ารูปเล่มให้สิ้นเปลืองกระดาษ สิ้นเปลืองเวลา เงินทองและค่าใช้จ่าย และต้องนำไปส่งอย่างมีพิธีรีตรอง
โลกแบบนี้แหละครับ เป็นโลกของวิธีคิดแบบเก่าๆ โดยที่เจ้าตัวเองไม่รู้ตัว